ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซท์พรรคเพื่อไทย เผยแพร่ "คำแถลง เพื่อไทย วิพากษ์ร่างรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ตามที่คณะทำงานติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ พรรคเพื่อไทยได้เคยเสนอแนะและให้ความเห็นไว้ว่า รัฐธรรมนูญที่ดีนั้นต้องยึดหลักการสำคัญที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ต้องเชื่อถือและไว้วางใจประชาชน และได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญที่กรรมาธิการได้เสนอในประเด็นต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยไปแล้วนั้น
จากการติดตามการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก่อนที่จะนำไปสู่การลงมติว่าจะเห็นชอบหรือไม่ ซึ่งหากเห็นชอบก็จะนำไปสู่การทำประชามติในลำดับต่อไปนั้น เห็นว่า แม้คณะกรรมาธิการจะได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามความคิดเห็นและคำขอแก้ไขจากฝ่ายต่างๆ ในบางประเด็น แต่บทบัญญัติที่เป็นสาระสำคัญในหลายส่วนมิได้มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขและยังคงขัดแย้งต่อหลักการประชาธิปไตยจนเป็นที่เห็นประจักษ์ว่า ความปรารถนาของประชาชนที่จะให้มีรัฐธรรมนูญที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตยที่เป็นสากล ยึดมั่นในหลักนิติรัฐ นิติธรรม สร้างดุลยภาพที่เหมาะสมของทุกองค์กรที่ใช้อำนาจอธิปไตย รวมถึงการเสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์และผลักดันการปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรมนั้น คงไม่อาจเกิดขึ้นได้ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. ร่างรัฐธรรมนูญนี้ปูทางการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร เป็นประชาธิปไตยจอมปลอม เสียงประชาชนไม่มีความหมาย ดังนี้
1.1 การกำหนดให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ แม้คณะกรรมาธิการจะอ้างว่าใช้ในกรณีจำเป็น แต่เมื่อพิจารณาจากเจตนารมณ์ของคณะกรรมาธิการและประธานกรรมาธิการที่ได้แสดงผ่านทางสื่อหลายต่อหลายครั้ง และบทบัญญัติต่างๆ ของร่างรัฐธรรมนูญ ที่นำไปสู่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอ บริหารงานเพื่อประชาชนไม่ได้ มีระบบเลือกตั้งที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ฯลฯ ประกอบกับบทบัญญัติอื่นๆ ทั้งหมดก็เพื่อเปิดช่องให้บุคคลที่มิได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นนายกรัฐมนตรีได้ เป็นการเปิดช่องให้มีการสืบทอดอำนาจ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต ทั้งๆ ที่พัฒนาการทางประวัติศาสตร์การเมืองไทยได้ตกผลึกผ่านรัฐธรรมนูญหลายฉบับมามากกว่า 20 ปีแล้วว่า คนส่วนใหญ่ของประเทศปรารถนาให้นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งของประชาชนตามหลักการประชาธิปไตยและเจตจำนงของประชาชน
1.2 การกำหนดให้ ส.ว.มีจำนวน 200 คน แต่มาจากการเลือกตั้งเพียงจังหวัดละ 1 คน ที่เหลือมาจากการสรรหาจำนวนรวมถึง 123 คน มากกว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งถึงเกือบสองเท่า ทั้งยังมีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญต่างๆ มีอำนาจอนุมัติกฎหมาย ฯลฯ เป็นการไม่ให้ความสำคัญกับการที่กำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน การกล่าวว่า ส.ว.ส่วนใหญ่ควรมาจากการสรรหา เพื่อให้เกิดความหลากหลายก็เป็นเพียงข้ออ้าง เพื่อวางกลไกการสืบทอดอำนาจอีกเช่นกัน เพราะเมื่อพิจารณาจาก ส.ว.ที่ได้รับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 แล้ว ก็มีความหลากหลายไม่น้อยไปกว่า ส.ว.ที่มาจากการสรรหาตามรัฐธรรมนูญ 2550 ตรงกันข้ามระบบสรรหาของประเทศไทยนอกจากเป็นแนวคิดที่ปฏิเสธอำนาจของประชาชนแล้ว ยังล้มเหลวโดยสิ้นเชิง หลายครั้งได้บุคคลที่ไม่มีคุณสมบัติที่จะเข้ากับตำแหน่ง หรือได้บุคคลที่มีแนวคิดสวนทางกับแนวทางประชาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากการสรรหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากในขณะนี้ หรือการสรรหาบุคคลที่ขาดคุณสมบัติเข้าไปเป็น ส.ว.ในอดีตจนถูกศาลวินิจฉัยให้พ้นจากตำแหน่ง
นอกจากนั้น จากการแถลงของกรรมาธิการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา ว่า สำหรับ ส.ว. ประเภทสรรหาในระยะเริ่มแรกนั้น จะกำหนดไว้ในบทเฉพาะกาล ให้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันเป็นผู้สรรหา และให้มีวาระ 3 ปี นั้น ยิ่งเห็นได้ชัดเจนถึงเจตนาที่จะสืบทอดอำนาจ แต่งตั้งพวกของตนเป็น ส.ว. โดยให้ ส.ว. สรรหาเป็นกลไกในการควบคุมตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นกลไกในการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติ ซึ่งเป็นองค์กรที่จะใช้ควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน นับได้ว่ายิ่งร่างก็ยิ่งเห็นธาตุแท้ของคณะบุคคลเหล่านี้ ที่มีแนวคิดในการปฏิเสธอำนาจของประชาชนมาโดยตลอด
1.3 การกำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์การปฏิรูปและการปรองดองแห่งชาติที่สามารถใช้อำนาจในทางนิติบัญญัติและในทางบริหารสั่งการเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาของประเทศต่างๆ ในยามวิกฤตได้ เห็นได้ว่าเป็นการนำองค์กรที่ไม่ได้มีความเชื่อมโยงใดๆ กับประชาชน มาควบคุมรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เหมือนเป็นการยึดอำนาจจากประชาชนโดยวิธีการเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญ สะท้อนให้เห็นแนวคิดที่ไม่เชื่อมั่นในกระบวนการประชาธิปไตย ซึ่งมีกลไกแก้ไขปัญหาของชาติตามระบบและครรลองอยู่แล้ว เช่นหากเกิดปัญหาที่ทำให้รัฐบาลไม่อาจบริหารราชการแผ่นดินได้ ก็อาจมีการยุบสภาให้ประชาชนตัดสิน หรือนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่งเพื่อเปิดโอกาสให้มีรัฐบาลใหม่ ที่ผ่านมาหลายต่อหลายครั้งก็ดำเนินการมาเช่นนี้ เพียงแต่เมื่อครั้งที่ผ่านมามีกลุ่มบุคคลที่เจตนาจะให้บ้านเมืองเกิดวิกฤตที่ควบคุมไม่ได้ จงใจให้นำไปสู่การรัฐประหาร โดยคบคิดร่วมกระทำกันอย่างเป็นกระบวนการ ความจริงผู้ร่างรัฐธรรมนูญควรจะหามาตรการและกำหนดบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเพื่อหาทางป้องกันและระงับยับยั้งการกระทำเหล่านั้นมากกว่า แทนที่จะมาสร้างองค์กรเสมือนเป็นซูเปอร์บอร์ด มีอำนาจเหนือรัฐบาล ทำลายหลักกฎหมาย ทำลายหลักการประชาธิปไตยและทำลายความชอบธรรมของระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
1.4 การกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระ และองค์กรต่าง ๆ ที่ถูกตั้งไว้ในช่วงการรัฐประหาร และภายหลังการเลือกตั้ง เป็นกลไกที่มีอำนาจเหนือฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ การวางกลไกเช่นนี้ เป็นการตอกย้ำและเสริมสร้างระบบขัดขวางการทำงานของรัฐบาลและสภาที่สืบเนื่องมาจากรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งในแง่ที่มาและอำนาจหน้าที่ เพื่อมุ่งหมายให้รัฐบาลและสภาอ่อนแอไม่สามารถทำงานเพื่อประชาชนตามนโยบายที่หาเสียงได้ และเพื่อบีบให้พรรคการเมืองส่วนหนึ่งต้องไปศิโรราบสนับสนุนให้บุคคลที่มิได้มาจากการเลือกตั้ง จัดตั้งรัฐบาล
2. การจำกัดสิทธิของผู้เคยถูกตัดสิทธิทางการเมือง หรือเคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งมาแล้วในการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง ทั้งๆที่ผู้ที่เคยถูกถอดถอนหรือถูกตัดสิทธิทางการเมือง ในอดีตเกือบทั้งหมดไม่มีโอกาสในการต่อสู้คดีและถูกลงโทษย้อนหลัง จึงเป็นการลงโทษซ้ำในความผิดที่เขาไม่ได้กระทำ และไม่มีการดำเนินกระบวนการพิจารณาตามหลักนิติธรรมแต่อย่างใด ประเด็นถ้อยคำที่ไม่ชัดเจนคลุมเครือนี้ คณะกรรมาธิการได้แถลงว่าจะชี้แจงไว้ในบันทึกเจตนารมณ์ว่ามิได้มุ่งหมายถึงบุคคลที่เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในอดีต แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีสำหรับสังคมไทยว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ตีความบทบัญญัติลายลักษณ์อักษรที่ชัดแจ้งให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติได้ เช่น กรณีตีความบทบัญญัติมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 จนทำให้ศาลรัฐธรรมนูญได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าตีความเกินรัฐธรรมนูญและเป็นผู้บัญญัติรัฐธรรมนูญเสียเอง ทำให้ประชาชนเกิดความแคลงใจในมาตรฐานและความเป็นกลาง นอกจากนั้นการห้ามผู้ที่เคยถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง มิให้สมัครรับเลือกตั้งได้ตลอดไปนั้น เป็นการตัดสิทธิเสรีภาพของบุคคลในทางการเมืองอย่างรุนแรงเกินกว่าเหตุ จึงไม่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นไม่ควรจะหมายรวมถึงผู้ที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการที่ไม่ปกติที่ผ่านมา มิฉะนั้นบทบัญญัติดังกล่าวก็มีขึ้นเพียงเพื่อสกัดกั้นบุคคลจากพรรคการเมืองหนึ่งพรรคการเมืองใดเป็นการเฉพาะนั่นเอง
คณะทำงานพรรคเพื่อไทยขอสรุปว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่เคารพและไม่เชื่อมั่นในวิจารณญาณของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย นำไปสู่รัฐบาลผสมที่อ่อนแอ วางกลไกการบริหารจัดการประเทศที่รังแต่นำไปสู่ความล้มเหลวและความขัดแย้ง ขาดความน่าเชื่อถือในเวทีการเจรจาระหว่างประเทศ เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนของต่างประเทศ เพราะไม่มีนักลงทุนใดกล้าลงทุนในประเทศที่รัฐบาลอ่อนแอ ไม่มีความต่อเนื่องของนโยบาย นอกจากนี้ ร่างรัฐธรรมนูญนี้สร้างเงื่อนไขอันจะนำไปสู่ความขัดแย้งขึ้นใหม่ มุ่งสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารและกลุ่มที่สนับสนุน มิได้มีกรอบของการปฏิรูปที่ชัดเจน ครอบคลุมทุกด้านทุกองค์กร เป็นรัฐธรรมนูญที่ต้องการที่จะหยุดประชาธิปไตย ไม่ต้องการให้ประชาธิปไตยเป็นกลไกในการแก้ปัญหาของประเทศ อันจะทำให้ประชาชนอ่อนแอ ขาดสิทธิและโอกาส และประเทศไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พรรคเพื่อไทย
สิงหาคม 2558
Thanks for sharing, nice post!
ตอบลบChia sẻ các mẹ nhiều thắc mắc trẻ sơ sinh thở khò khè có sao không, trẻ sơ sinh thở khò khè như có đờm hay muối biển thì muối epsom mua ở đâu, epsom salt là gì hay mắt trẻ sơ sinh bị ghèn thì có sao không hướng dẫn các mẹ cách tắm cho trẻ sơ sinh chưa rụng rốn cho trẻ nằm quạt hay điều hòa có tốt không với bài có nên cho trẻ sơ sinh nằm quạt, có nên cho trẻ sơ sinh nằm điều hòa hay sóng wifi thì sao sóng wifi có hại không, sóng wifi có ảnh hưởng đến trẻ sơ sinh không, cách nấu cháo cá trê ngon cho bé hay bài viết hướng dẫn các mẹ cách quấn tã cho trẻ sơ sinh, cách quấn tã cho trẻ sơ sinh vào mùa hè, cách nấu cháo cá lóc cho bé hay cách thay tã cho trẻ sơ sinh có nên cắt tóc máu cho trẻ sơ sinh, có nên cắt móng tay cho trẻ sơ sinh hay nhiệt độ trẻ sơ sinh bao nhiêu là bình thường, nhiệt độ trẻ sơ sinh bao nhiêu là sốt hay cho trẻ ăn váng sữa thì sao với bài váng sữa Monte giá bao nhiêu hay cháo ăn dặm cho trẻ thì nấu cháo tim lợn với rau gì thì ngon.