ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์คลิปวีดิโอ การป้องกันและปรามปรามการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว ความยาว 3.41 นาที พร้อมกับอธิบายว่า "มาตรการป้องกันทุจริตจำนำข้าว อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ได้ป้องกันการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวอย่างเต็มที่ครับ" ผ่าน Facebook : Kittiratt Na-Ranong ทั้งนี้เนื้อหาภายในคลิปดังกล่าว ระบุว่า
มาตรการป้องกันทุจริตจำนำข้าว
อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ได้ป้องกันการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวอย่างเต็มที่ครับ
Posted by Kittiratt Na-Ranong (กิตติรัตน์ ณ ระนอง) on 31 ตุลาคม 2015
ในการบริหารโครงการรับจำนำข้าว รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ได้ระมัดระวัง รอบคอบ และไม่ได้ปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริต โดยวางมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริตไว้ 4 มาตรการ คือ
1. มาตรการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน
2. มาตรการกลไกการตรวจสอบ
3. มาตรการลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ
4. มาตรการปราบปรามการทุจริต
ตัวอย่าง มาตรการป้องกันการทุจริตทุกขั้นตอน เช่น
1. พัฒนาระบบงานและขั้นตอนต่างๆ ให้ดีขึ้น
2. จัดทำคู่มือปฏิบัติงานให้ผู้ปฏิบัติดำเนินการอย่างถูกต้อง
3. ตั้งคณะอนุกรรมการ ควบคุมตรวจสอบ ส่วนกลางและภูมิภาค รวม 14 คณะ
4. ใช้เทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพเช่น ระบบ GPS ตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูก CCTV ควบคุมสต็อกข้าว ระบบคอมพิวเตอร์ Online ควบคุมการรับจำนำและออกใบประทวน
5. จ่ายเงินจำนำข้าว เข้าบัญชีชาวนา ผ่าน ธกส.
6. ตั้งคณะอนุกรรมการปิดบัญชีข้าวโดยเฉพาะ รัฐบาลแรก
มาตรการกลไกการตรวจสอบ : เพิ่มเงื่อนไขและเข้มงวดมากขึ้น
1. การขึ้นทะเบียนเกษตรกร ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียม GPS ในการทำประชาคม สุ่มตรวจพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น เป็น 20 เปอร์เซ็นต์
2. ณ จุดรับจำนำข้าว มีตัวแทนเกษตรกรจากสมาคมชาวนา เพิ่มเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพิ่มจุด CCTV
3. ใช้ระบบเซมิออนไลน์ ออกใบประทวนระบุจำนวนข้าว-จำนวนเงิน ให้ชาวนาไปรับเงินที่ ธกส.
4. คณะตรวจสอบของจังหวัดและส่วนกลางตรวจสอบต่อเนื่อง
มาตรการลดความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ
1. นำข้อเสนอหน่วยงานต่างๆ เช่น ป.ป.ช. , สตง. มาปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ
2. มีสัญญาให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับผิดชอบ กรณี ข้าวเน่า ข้าวหาย ข้าวเสีย ชัดเจน พร้อมมีสัญญาประกันภัย
3. กระทรวงการคลัง รักษาระดับหนี้สาธารณะ ที่ร้อยละ 46 ขณะที่กรอบกฎหมายกำหนด ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP และภาระหนี้ต่องบประมาณ เพื่อชำระเงินต้นและดอกเบี้ย รักษาระดับที่ ร้อยละ 7.4 ขณะที่กรอบกฎหมายกำหนด ไม่เกินร้อยละ 15 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี
4. หลังช่วยเหลือชาวนาจนประสพความสำเร็จภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลัง ได้ลดปริมาณรับจำนำจากจำนำทุกเม็ด เป็นรายละ 5 แสนบาท และ 3.5 แสนบาท
5. สร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้เกษตรกรกำหนดพื้นที่เพาะปลูกที่เหมาะสม หรือเกษตรโซนนิ่ง ลดต้นทุนการผลิต ใช้ข้าวพันธุ์ดี ส่งเสริมนโยบายเกษตรปราดเปรื่อง
มาตรการปราบปรามการทุจริต
1. นายกฯยิ่งลักษณ์ ให้นโยบายป้องกันและปราบปรามการทุจริตอย่างเข้มงวด เด็ดขาดตั้งแต่เริ่มโครงการ เดือนกันยายน 2554 เป็นต้นมาอย่างต่อเนื่อง
2. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและปราบปรามการทุจริต โดย รองนายกรัฐมนตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นประธาน สามารถจับกุมดำเนินคดี ผู้กระทำผิด 276 คดี ซึ่งการตรวจสอบเข้มงวดและเอาผิดจริงจัง ป้องกันการทุจริตได้เป็นอย่างดี
3. เมื่อมีข้อกล่าวหาทุจริต ก็ตั้งคณะกรรมการสอบสวน พร้อมสั่งการลงโทษเด็ดขาด
จากมาตรการทั้งหมด ถือเป็นเจตนารมณ์ ความทุ่มเท ใส่ใจของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพื่อบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทุกขั้นตอน