ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี โพสต์คลิปวีดิโอ ความยาว 3.54 นาที อธิบายว่า "โครงการรับจำนำข้าว ไม่ใช่เรื่องกำไรขาดทุน" ผ่าน Facebook : Kittiratt Na-Ranong พร้อมอธิบายว่า "วันพฤหัสฯ ที่ 15 ตุลาคม 2558 ผมได้รับโอกาสเข้าให้ข้อมูล แก่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ที่ถูกตั้งขึ้นโดย นายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลังจากได้ร้องขอทั้งด้วยจดหมายเปิดผนึกและปิดผนึก ซึ่งใช้เวลาตอบคำถามต่างๆ ไป กว่าสามชั่วโมง แต่น่าจะยังไม่ถึงครึ่งของสิ่งที่ผมควรจะให้ข้อมูล และคณะกรรมการฯ จะกำหนดวันให้เข้าให้ข้อมูลต่ออีก คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ยังอยู่ในขั้นแรกของกระบวนการ พิจารณาว่ามีความรับผิดทางละเมิดใดๆ หรือไม่? และคณะกรรมการฯ พึงปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบ สำนักนายกฯ ประกอบ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดฯ คือ การให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจง และให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ ซึ่งผมก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแก่คณะกรรมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าเป็นเมื่อใด หรือ ใช้เวลาอีกกี่วันก็ตาม ใครก็ตามจะรีบด่วนฟันธง อะไรจนเกินงามโปรดศึกษาข้อกฎหมายให้ถ่องแท้เสียก่อนนะครับ ปล. คลิปวิดิโอนี้ดูแล้วจะเข้าใจในเวลาไม่มากนะครับ
ไม่ใช่เรื่องกำไรขาดทุน
วันพฤหัสฯ ที่ 15 ตุลาคม 2558 ผมได้รับโอกาสเข้าให้ข้อมูล แก่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ที่ถูกตั้งขึ้นโดย นายกฯ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หลังจากได้ร้องขอทั้งด้วยจดหมายเปิดผนึกและปิดผนึก ซึ่งใช้เวลาตอบคำถามต่างๆ ไป กว่าสามชั่วโมง แต่น่าจะยังไม่ถึงครึ่งของสิ่งที่ผมควรจะให้ข้อมูล และคณะกรรมการฯ จะกำหนดวันให้เข้าให้ข้อมูลต่ออีก คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ยังอยู่ในขั้นแรกของกระบวนการ พิจารณาว่ามีความรับผิดทางละเมิดใดๆ หรือไม่และคณะกรรมการฯ พึงปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบ สำนักนายกฯ ประกอบ พรบ.ความรับผิดทางละเมิดฯ คือ การให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องได้ชี้แจง และให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ ซึ่งผมก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือแก่คณะกรรมอย่างเต็มที่ ไม่ว่าเป็นเมื่อใด หรือ ใช้เวลาอีกกี่วันก็ตามใครก็ตามจะรีบด่วนฟันธง อะไรจนเกินงามโปรดศึกษาข้อกฎหมายให้ถ่องแท้เสียก่อนนะครับปล. คลิปวิดิโอนี้ดูแล้วจะเข้าใจในเวลาไม่มากนะครับ
Posted by Kittiratt Na-Ranong (กิตติรัตน์ ณ ระนอง) on 15 ตุลาคม 2015
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เนื้อหาภายในคลิปดังกล่าว ระบุว่า
โครงการรับจำนำข้าว ไม่ใช่เรื่องกำไรขาดทุน
โครงการสาธารณะเป็นเรื่องที่ทุกรัฐบาล จะต้องดำเนินการเพื่อแก้ไขให้กับประชาชนและประเทศชาติ และเป็นการลงทุนเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น หากไม่ดำเนินการฯ จะสร้างความเสียหาย โครงการสาธารณะจำเป็นต้องคำนึงถึงประโยชน์โดยรวมของโครงการ ไม่ใช่เรื่องของกำไรขาดทุน หลักการนี้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 เช่นเดียวกับที่ประเทศต่างๆทั่วโลกดำเนินการเป็นการสากล
การดำเนินการโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เป็นโครงการสาธารณะที่ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อประเทศชาติ เพราะเป็นโครงการช่วยเหลือ ชดเชยรายได้ให้ชาวนา ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้ได้ราคาข้าวเปลือกที่สูงขึ้น โดยให้ความสำคัญกับผลตอบแทนที่เป็นต่อผลประโยชน์กับชาวนา ควบคู่กับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจโดยรวม
วงเงินงบประมาณที่ใช้ในโครงการรับจำนำข้าว ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. จ่ายตรงให้กับชาวนาที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 878,209 ล้านบาท โดยไม่เกิดการรั่วไหล เงินจำนวนนี้ยังทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น 7 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.8 ต่อปีของ GDP รัฐสามารถเก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นปีละกว่า 1 แสนล้านบาท หรือ 2.5 แสนล้านบาทตลอดโครงการ เป็นต้น นอกจากนี้ยังทำให้ชาวนาแต่ละครอบครัว มีเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ นำไปชำระหนี้สิน ซื้อปัจจัยการผลิต และที่สำคัญคือนำไปใช้สำหรับการศึกษาของบุตรหลานที่จะเป็นอนาคตของชาติต่อไป
ในเรื่องการประเมินความคุ้มค่าของโครงการสาธารณะนั้น ตามกฎหมายหน่วยงานที่มีหน้าที่ คือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ซึ่งทั้งสองหน่วยงานต่างมีความเห็นสนับสนุนโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลนี้มาโดยตลอด ส่วนตัวเลขทางบัญชีของโครงการรับจำนำข้าว ที่คำนวณโดยคณะอนุกรรมการปิดบัญชีฯ มีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อการบริหารค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งการกำหนดแนวทางจัดหาเงินทุน เพื่อชำระหนี้ ซึ่งมิได้มีหน้าที่ประเมินความคุ้มค่าของโครงการ เพื่อหาผลกำไรขาดทุน หรือความเสียหายแต่อย่างใด
หากคิดว่าโครงการรับจำนำข้าวรัฐบาลยิ่งลักษณ์ขาดทุน และทำให้เกิดความเสียหายกับประเทศชาติ แล้วมาเรียกร้องเอาผิดกับผู้รับผิดชอบ ก็ต้องพิจารณาโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการที่ขาดทุน และทำให้เกิดความเสียหาย จึงจำเป็นต้องเอาผิดกับผู้รับผิดชอบโครงการนั้นๆ ด้วย เช่น โครงการ ปรส.ขายทรัพย์สิน ที่ขาดทุนกว่า 8 แสนล้านบาท โครงการรับจำนำข้าวในรัฐบาลชุดก่อนๆ จำนวนเงิน 1 แสน 6หมื่นล้านบาท โครงการประกันราคาข้าว 1 แสน 3 หมื่นล้านบาท โครงการเงินช่วยเหลือชาวนาหนึ่งพันบาทต่อไร่ 4.5 หมื่นล้านบาท รวมทั้งโครงการช่วยเหลือชาวสวนยาง และแทรกแซงราคายาง ปาล์ม มันสำปะหลัง ข้าวโพด เป็นต้น
คำถามคือ...ทำไม? เลือกปฏิบัติ เอาผิดเฉพาะกับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยไม่เคยต้องเอาผิดกับผู้รับผิดชอบของโครงการอื่นๆ ในอดีตเลย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น