นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย เข้ายื่นเรื่องร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามหน้าที่ และอำนาจในมาตรา มาตรา 210 วรรคหนึ่ง (1) และมาตรา 212 วรรคหนึ่ง แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ใน 2 กรณี คือ (1) บทบัญญัติของมาตรา 13 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่? และ (2) พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 พ.ศ.2550 ตราโดยไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือไม่?
นายเรืองไกร กล่าวว่า บทบัญญัติของมาตรา 13 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ. 2542 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าบทบัญญัติ มาตรา 13 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 2550 และการลงมติเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย จึงทำให้ร่างตกไป และแม้จะมีการขอแก้ไขเพิ่มเติม แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาฯ ข้อความในบทบัญญัติมาตรา 13 วรรคสาม ที่แก้ไขเพิ่มเติมยังคงใช้อยู่มาถึงปัจจุบัน ทั้งที่มีลักษณะเป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ
นายเรืองไกร กล่าวว่า ยังมีปัญหาการตรากฎหมายไม่ชอบ ในส่วนของการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 ในการพิจารณาของ สนช.ปี 2550 เนื่องจากในวันที่ลงมติวาระ 3 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ.2550 ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 111 เสียง ไม่เห็นชอบ 1 เสียง เท่ากับมี สนช.อยู่ในที่ประชุมเพียง 112 คน ไม่ถึงกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่มีอยู่ 239 คน จึงถือว่าเป็นการตรากฎหมายที่ไม่ชอบ เนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ โดยศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยร่างกฎหมายที่มีปัญหาองค์ประชุมไม่ครบ ในการพิจารณาของ สนช.ชุดเดียวกันมาแล้ว 7 ฉบับ ว่าเป็นการตรากฎหมายที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เมื่อกฎหมายตราไม่ชอบ ต่อให้คดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ตัดสินไปแล้ว ก็สามารถย้อนมาได้ ในรัฐธรรมนูญเขียนไว้ ถ้าไปดูหมวดของศาลจะเห็นได้ ใน มาตรา 210-214 พูดง่ายๆ เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ถ้ากระบวนการไม่ใช่ ก็ต้องคืนความยุติธรรม คืนความชอบธรรม และที่มายื่นในครั้งนี้ก็ เพื่อประโยชน์ของกระบวนการยุติธรรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น