วันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560

หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ แนะรัฐถึงเวลาปลดล็อคสื่อ ยุติการข่มขู่ คืนสภาพบ้านเมือง


กองบรรณาธิการ Social Media สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม TV24 สถานีประชาชน ได้รับเกียรติจาก คุณปลื้ม-หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้ดำเนินรายการ The Daily Dose สถานีโทรทัศน์ VoiceTV ให้สัมภาษณ์พิเศษถึงสถานการณ์การควบคุมสื่อมวลชนจากรัฐบาลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ กล่าวว่า "มันมีเรื่องหนึ่งซึ่งอยากพูดให้ชัด คือ รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ควรยุติการแทรกแซงการทำงานของสื่อมวลชน เสียที เพราะในปัจจุบัน สื่อมวลชนไทย ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ หรือ สถานีวิทยุต่างๆต้องมานั่งเซ็นเซอร์ตนเอง เพราะมีความรู้สึกความหวาดระแหวงอยู่ตลอดเวลาว่ารัฐบาลจะใช้อำนาจที่มีอยู่เข้ามาแทรกแซง การที่พลเอกประยุทธ์เป็นชายชาติทหาร ควรจะมีความกล้าพอที่จะบริหาร ราชการแผ่นดิน โดยไม่เกรงกลัวเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เสียงวิพากษ์วิจาณ์ที่มีอยู่ในสังคมมันเป็นเรื่องปกติของนายกรัฐมนตรี และก็ต้องรับกับปัญหาเยอะแยะมากมาย ต้องบริหารจัดการบ้านเมือง ถ้าเป็นชายชาติทหาร และเป็นลูกผู้ชาย ไม่มานั่งกลัวเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ทำไมต้องมาทำให้สื่อมวลชนไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่? แล้วเวลาผู้สื่อข่าวไปทำข่าวที่ทำเนียบ เวลาที่นักข่าวถามอะไรให้ไม่เป็นที่พอใจของนายกฯ นายกฯก็ซัดกลับอย่างตรงไปตรงมาอยู่แล้ว ซึ่งก็ไม่เป็นไร ก็ดี แต่ว่า วิธีการแทรงแซงอย่างที่เป็นอยู่ ที่เป็นมานาน 3 ปีนี้ต้องเลิกได้แล้ว"


"อย่างแรก คือ ถ้าเกิดมีหน้าห้องนายกฯคนไหนคอยโทรศัพท์ไปกดดันผู้บริหารของสถานีข่าว ต้องเลิกทำได้แล้ว ถ้าเป็นอย่างนี้มาเป็นเวลา 3 ปี ต้องเลิกทำได้แล้ว เพราะพฤติกรรมอย่างนี้มันแย่"

"มันทำให้เกิดความหวาดระแวงตลอดเวลาของผู้บริหารสถานีข่าว ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ หรือโทรทัศน์ หรือ สื่อสิ่งพิมพ์ ว่าเดี๋ยวหน้าห้องจะโทรมาอีก และถ้าโทรมา มันก็จะกดดันไปถึง เอ๊ะ! คอลัมภ์นิสต์คนนี้ ทำไมเขียนอย่างนี้? ผู้ประกาศคนนี้ทำไมพูดอย่างนี้? ทำไมพาดหัวข่าวอย่างนี้? ทำไมขึ้น CG อย่างนี้? มันแทรกแซงลงมาในรายละเอียดเป็นเวลา 3 ปี"

"องค์กรที่ปกติแล้วเป็นองค์กรอิสระ อย่างเช่น กสทช. ต้องมานั่งทำงานภายใต้รัฐบาลทหาร แทนที่ กสทช. จะกำกับดูแล อย่างโปร่งใส และยุติธรรม ในวันนี้ กสทช. ทำหน้าที่เสมือนเป็น กบว. ยุคใหม่ ต้องมาตอบสนองความต้องการของรัฐบาลทหาร และในขณะเดียวกัน ต้องมานั่งคุมสถานีโทรทัศน์และวิทยุ ต่างๆ ให้ไม่เสนอข่าวที่ไปกระทบกระทั่งต่อ ท่านนายกฯจนเกินไป"


"ซึ่งทางเดียวที่จะเปิดให้สื่อมีเสรีภาพ อีกครั้ง คือ นายกฯต้องให้คำมั่นสัญญา และต้องปฏิบัติตาม และก็จะออกมาบอกตรงๆกับประชาชนว่า ต่อไปนี้จะไม่เหมือนอย่างที่ผ่านมา จะด่าสื่อก็ด่าไป ด่าแบบเปิดๆด่ามาเลย ไม่ชอบใครก็บอก แต่ว่าไม่ใช้ให้หน้าห้อง โทรหาคนนั้นคนนี้ กดดันไปทุกวัน ก็ถ้าเป็นอย่างนี้สื่อก็อยู่ภายใต้ความกลัว กลัวว่าจะโดนยึดใบอนุญาต โดนยึดใบอนุญาตได้หมดตั้งแต่วิทยุถึงโทรทัศน์ ผู้ดำเนินรายการสามารถหลุดออกจากสถานีได้ถ้ารัฐบาลมากดดันผู้บริหาร มันเป็นแบบนี้ได้ทุกองค์กร และเป็นหมดทั้งวิทยุและทีวี และมันเป้นอย่างแยบยลด้วย ซึ่งเป็นอย่างแยบยลมันไม่มีความเป็นลูกผู้ชาย คุณไม่ชอบใครคุณบอกมา คุณจะด่าใครคุณด่าซึ่งๆหน้า มันจะได้ตอบโต้กันอย่างสร้างสรรค์ แม้กระทั่งประธานาธิบดีทรัมป์ เขาก็เจอคนด่าเยอะ สื่อกระแสหลักด่าทรัมป์ทุกวัน ทรัมป์ก็ด่ากลับ ก็ด่ากันไปด่ากันมา ก็มีความสมดุลที่เกิดขึ้น ประชาชนก็บริโภคเนื้อหา แล้วก็ได้ไปคิดเองว่าใครทำผิด ใครทำถูก แต่ว่าอย่างที่เป็นอยู่มันต้องเลิก มันเป็นอย่างนี้มา 3 ปี แล้ว"


"และท่าที คือ ถ้าเขาไม่ปล่อยให้มีการเลือกตั้งสิงหาคมปีหน้า เราก็ต้องอยู่ในสภาพแบบนี้อีกไม่ใช่แค่ปีเดียว หลายปี ซึ่งมันไม่ไหว"

"ประเด็นคือ ในวันนี้ ถ้าคุณสังเกตดู ส่วนใหญ่แล้วสื่อกระแสหลักและสื่อกระแสรองอยู่ในสภาพที่จำยอมไปแล้ว ทำอะไรไม่ได้จริงๆ เพราะว่าเมื่อไหร่เมื่อคุณนำเสนอประเด็นที่ทำให้ภาพพจน์ของรัฐบาลดูแย่ลงจริงๆ ไม่ใช่วิจารณ์รัฐบาลอย่างแบบน่ารักๆ เป็นสีเป็นสันเฉยๆ แต่ถ้าคุณพูดกระทบกล่องดวงใจของรัฐบาลจริงๆ อย่างเช่น ทำไมไม่ให้มีการจัดการการดำเนินคดีกับผู้ที่มีส่วนร่วมในการสลายการชุมนุม ในปี 2553 ถ้าพูดเรื่องนี้ตรงๆ เดี๋ยวก็โดนมาแล้ว มันมีทั้งแรงกดดันในการยึดใบอนุญาต มันมีทั้งแรงกดดันในการให้ผู้ที่พูดสิ่งนั้นให้ไม่มีงานทำ มันมีแรงกดดันไปที่ผู้บริหารทุกองค์กร และมันมาจาก รัฐ โดยที่ถ้าพลเอกประยุทธ์ไม่สั่งการให้หยุด แล้วปล่อยให้สิ่งเหล่านี้อย่างที่มันเป็นมากว่า 3 ปี มันก็จะได้แย่ลงไปเรื่อยๆและประชาชนที่บริโภคสื่อส่วนใหญ่ก็จะรู้สึก บ้านเมืองไม่มีปัญหาอะไร เพราะเปิดทีวีมาเปิดวิทยุมา ดูเหมือนว่าทุกอย่าง Happy ขณะตอนที่ยังไม่ยอมผูกมัดตนเองกับวันเลือกตั้ง เปิดทีวีมา เปิดวิทยุมา โอเค ก็ดีไม่มีปัญหาอะไรทุกคน Happy แต่นี่ทุกคนมันไม่ Happy แต่ไม่มีใครกล้าด่า ผมเกรงว่าถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ คนส่วนใหญ่ในสังคมมัน ก็จะรู้สึกว่าประชาชนไม่มีปัญหาอะไรเลยกับรัฐบาลนี้ เพราะว่าความรู้สึกของประชาชนที่มีประเด็นกับรัฐบาลไม่พอใจเรื่องต่างๆ มันไม่สามารถสะท้อนออกมาได้ ผ่านสื่อสารมวลชน มันก็เก็บเงียบอยู่ใน โลกของสื่อสังคมออนไลน์ เฉยๆ และในโลกของสื่อสังคมออนไลน์ ที่คุณเข้าไปแชร์ความเห็นกันมันก็จะแรงขึ้นๆ และมันก็จะแรงอยู่ในนั้น อยู่ในโลกนั้น ในขณะที่บนโทรทัศน์กับวิทยุ ที่คุณเปิดมา มันเหมือนกับ โอ้ Happy ทุกอย่างโอเค อันนี้ท่านลุงตู่ทำอย่างนี้นะ โอเค ไม่ว่ากัน จบ... มันแยกออกเป็นสองโลกเลย ไม่ไหว มันเป็นอย่างนี้ไปได้อีกไม่นาน"


กองบรรณาธิการ  : ผู้บริหารสื่อเองเลือกที่จะเป็นอย่างนั้นหรือไม่?
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ : "ไม่!...สื่อหรือหนังสือสื่อพิมพ์บางฉบับ อาจจะสนับสนุนวาระของรัฐบาล ใช่ แต่อันนั้นก็จะเป็นส่วนน้อย คือ ถ้าพูดถึงคนที่จัดรายการทีวี จัดรายการวิทยุ และหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เขาต้องการเสรีภาพ และเมื่อได้เสรีภาพ เขาก็จะได้เลือกเองว่า ประเด็นไหนที่เขาจะฉายสปอร์ตไลท์ไป และวิจารณ์รัฐบาลเต็มๆ ส่วนสื่อที่หนุนเผด็จการณ์มันก็มี มันเป็นส่วนน้อยในเวลานี้ แต่ว่า ความที่มันมีเซ็นเซอร์ชิปภายใต้แรงกดดันและความกลัว มันก็เลยดูเหมือนว่าส่วนใหญ่ หนุนรัฐบาล จริงๆมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น คือส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่มันดูเหมือนเป็นอย่างนั้น"

กองบรรณาธิการ : ไม่มีใครตำหนิรัฐบาลตรงๆ?
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ : "ทำไม่ได้ เพราะ กสทช. ทำงานภายใต้รัฐบาลในวันนี้ แล้วหมายความว่า ฟรีทีวี ถ้ามีผู้ดำเนินรายการคนไหน วิจารณ์รัฐบาล ในแบบที่ผู้ดำเนินรายการมีความน่าเชื่อถือและคนเชื่อฟัง รัฐบาลจะจัดเต็มตรงนั้นแน่"

"เพราะฉะนั้น สิ่งที่เรียกร้องคือ ว่า นายกฯ ต้องมีความเป็นลูกผู้ชาย และเลิกกลัวเสียงวิพากษ์วิจารณ์เสียที แล้วถ้าคุณเก่งจริง ไม่ว่าผู้ดำเนินรายการ คอลัมป์นิสต์คนไหน ขนาดไหน คุณต้องเอาชนะคนนั้นได้ สมมุติผมวิจารณ์นายกฯ แล้วคนเชื่อผม มันก็เป็นหน้าที่ของนายกฯที่จะแก้ต่างๆ แล้วให้คนไปเชื่อท่าน มันไม่ใช่ความผิดของผม มันเป็นความผิดของท่านนายกฯเอง พูดง่ายๆ คือ การแข่งขันที่ต้องไม่ลิดรอนสิทธิ์ผู้อื่น คือในวันนี้ มันมีความที่ท่านสำคัญตนเองผิด ท่านมองว่าท่านอยู่เหนือการวิพากษ์วิจารณ์ของสื่อ ซึ่งมันไม่ใช่ ในทุกวันนี้ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นตำแน่งที่ต้องรับใช้ประชาชน เงินเดือนของนายกฯและเงินเดือนตลอดชีวิตท่านมาจากภาษีประชาชน ฉะนั้น ท่านไม่ได้อยู่ในฐานะที่เหนือกว่าประชาชน และแน่นอนว่าไม่ได้อยู่ในฐานะที่เหนือกว่าสื่อ อย่างมากก็เท่าเทียมกัน"


กองบรรณาธิการ : มีสื่อหลายช่อง ที่เป็นองคาพยพของภาครัฐอยู่แล้ว ซึ่งต้องสนับสนุนรัฐ?
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ : "ในภาวะปกติ สื่อไหนที่เป็นองค์กรของรัฐ ตามปกติแล้ว ก็จะมีการนำเสนอข่าว ที่เป็นบวกต่อรัฐบ้าง แต่ว่านั้นเป็นสถานการณ์ที่สื่อมวลชนค่ายอื่นเขายอมรับได้ สิ่งที่คุณพูดมามันใช่ แต่ประเด็นคือ ถ้าเป็นแค่นั้นก็โอเค เพราะที่ผ่านมาปกติ มันเป็นแค่นั้น โดยที่รัฐบาลก็ต้องรับฟังมุมมองของสื่ออื่นๆที่ไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐ แต่ในปัจจุบันมันไม่ใช่ มันกลายเป็นว่า กองบรรณาธิการ ของทุกๆสถานี และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณไปดูวิทยุ อยู่ในโหมดเดียวกันจนเหมือนกับว่า รัฐมาเป็นเจ้าของ เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเฉพาะช่องที่คุณว่า มันก็คือการนำเสนอข่าวตามปกติของรัฐบาลอื่น มันก็โอเคไง ตอนนี้มันกลายเป็นลามไปหมดเลย"

"สิ่งที่ตลกตอนนี้ คือ มีข่าวเกี่ยวกับคุณวัฒนา หรือ พิชัย วิจารณ์รัฐบาล เหมือนกับว่า  มันจะมีคนที่พยายามจะบอกว่า มีขาประจำเหลือแค่นี้ จริงๆมันไม่ใช่ขาประจำเหลือแค่นี้ คนอื่นมันไม่มีพื้นที่แล้ว ทุกวันนี้ คนที่วิจารณ์รัฐบาล มีพื้นที่แค่ใน Facebook ที่มันดูเหมือนว่าเหลือขาประจำไม่กี่คนเพราะว่า ทุกคน อดีตรัฐมนตรีกี่คน ที่วิจารณ์รัฐบาลนี้ ผมเรียกมาได้เลยกว่า 50 คน เต็มเลย แต่ว่าสื่อไม่สามารถเชิญมาออกได้เลย ถ้าเชิญมาออก รายการนั้นหลุด หรือใบอนุญาตยึด และพวกนี้ก็อยู่ใน Facebook เท่านั้น ทุกคน"


"อาจารย์แต่ละคน สอนมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีประเด็นที่จะวิจารณ์รัฐบาลได้อย่างสร้างสรรค์เยอะแยะ แต่ เชิญมาออกไม่ได้ ต้องไปเขียนใน Facebook เฉยๆ เพราะถ้าเชิญมาออก ผู้ดำเนินรายการก็เหมือนโดนเฉ่ง และเขากดดันผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งมีเยอะ"

"ประเด็นคือ รัฐต้องเลิกมายุ่งกับช่องที่ไม่ได้สนับสนุนเขา ในอดีต ถ้ารัฐบาลมายุ่งกับช่อง 5 ช่อง 11 บางครั้งมันก็เกิดขึ้น แต่อย่างน้อย ยุ่งแค่นั้นพอ คุณอย่ามายุ่งช่องอื่น แล้วอย่าไปยุ่งวิทยุ อย่าไปยุ่งหนังสือพิมพ์"


"เขาจะไปมีปัญหาอะไรกับรายการประกวดร้องเพลง แต่นั่นคือ เขาอยากให้เป็นอย่างนั้น ถ้าเอารายการวิเคราะห์ข่าวออก และเอารายการประกวดร้องเพลงมาแทน รับรองรัฐบาล Happy แน่"

"นั่นคือประเทศที่เป็นเผด็จการมันมีแต่บันเทิง" หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย

“เพื่อไทย” เร่งคสช. สำรวจความเสียหายน้ำท่วม


นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมที่วิกฤติหนักในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ว่า ขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งลงพื้นที่ไปดูแลช่วยเหลือประชาชน เร่งเยียวยาแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนที่เดือดร้อนอย่างหนักในขณะนี้ รวมถึงการเร่งเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนปัจจัยการผลิต เร่งสำรวจความเสียหาย ฟื้นฟูสาธารณูปโภค สะพาน ถนนหนทาง อย่างเร่งด่วน ความจริงรัฐบาลชุดนี้อยู่มานาน 3-4 ปี น่าจะมีประสบการณ์ องค์ความรู้เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และเข้าใจถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน รวมถึงรัฐบาลนี้มีอำนาจเบ็ดเสร็จ มีมาตรา 44 ในการแก้ไขปัญหา แต่กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้เลย ในทางกลับกันการช่วยเหลือกลับล่าช้า จนดูเหมือนกับว่ารัฐบาลปล่อยปละละเลย ซึ่งวันนี้ต้องยอมรับว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที รัฐบาลต้องประเมินตัวเองว่าผลงานเรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม การหาแนวทางมาตรการป้องกัน หรือการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนนั้นเป็นอย่างไร? มีหรือไม่? สอบผ่านหรือไม่? ขณะนี้ปัญหาน้ำท่วมกระทบต่อประชาชนอย่างหนัก จึงอยากให้รัฐบาลเร่งเยียวยาแก้ไขปัญหาให้พี่น้องประชาชนโดยเร็วที่สุด

วันจันทร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2560

"หมวดเจี๊ยบ" เร่งคสช. ปลดล็อคพรรคการเมือง


ร้อยโทหญิง สุณิสา เลิศภควัต อดีตรองโฆษกพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยมีเนื้อหาดังนี้

คสช. ควรเลิกถ่วงเวลาการปลดล็อคพรรคการเมืองได้แล้ว ไม่อย่างนั้น อาจถูกมองว่าจงใจให้พรรคการเมืองขนาดเล็กสูญพันธ์และเสี่ยงถูกยุบพรรค หรือว่าท่านต้องการเอื้อประโยชน์พรรคการเมืองหน้าใหม่บางพรรคกันแน่ เพราะสื่อมวลชนนินทากันหนาหูว่า คสช. กำลังแอบตั้งพรรคเพื่อสืบทอดอำนาจ

หากมีการเลือกตั้งในปลายปีหน้าจริง เราอาจเห็นปรากฎการณ์พรรคการเมืองขนาดเล็กจำนวนมากต้องสูญพันธ์หรืออาจถูกยุบพรรค เพราะขาดคุณสมบัติในการส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้งก็เป็นได้ โดยเฉพาะพรรคขนาดเล็กและมีระบบไม่แข็งแรง เนื่องจากอาจไม่สามารถทำตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน พรป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ 2560 เช่น การเพิ่มจำนวนสมาชิก การเพิ่มเงินทุนประเดิมพรรค และการเพิ่มสาขาพรรคตามจำนวนขั้นต่ำที่ ก.ม. กำหนด

ประเด็นคือ กิจกรรมข้างต้นนี้ต้องดำเนินการผ่านที่ประชุมพรรคการเมือง และต้องกระทำให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับตั้งแต่วันที่ 7 ต.ค 60 ซึ่งเป็นวันที่ พรป. ว่าด้วยพรรคการเมืองดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งขณะนี้ พรรคการเมืองเก่ามีเวลาดำเนินการเหลือแค่ 157 วัน เท่านั้น ไม่ถึง 180 วัน ด้วยซ้ำ และจะยิ่งนับถอยหลังลงไปเรื่อย ๆ ทุกวัน แต่ คสช. กลับทำเป็นเฉยเรื่องปลดล็อคพรรคการเมือง เหมือนกับจงใจให้พรรคการเมืองทำงานไม่ทัน ไหนยังจะต้องเผื่อเวลาให้ กกต. ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับพรรคการเมืองทั้งเก่าและใหม่อีก

ไม่ทราบว่าพวกท่านต้องการเอื้อประโยชน์ให้พรรคการเมืองใดเป็นพิเศษหรือไม่ เพราะสื่อมวลชนโจษจันหนาหูเหลือเกินว่า คสช. กำลังแอบตั้งพรรคการเมืองเพื่อสืบทอดอำนาจ ซึ่งพรรคการเมืองที่ตั้งใหม่นั้น กฎหมายไม่ได้บังคับเรื่องเงื่อนเวลา 180 วันเอาไว้ ย่อมได้ประโยชน์ในกรณีนี้

เรื่องนี้สะท้อนว่า คสช. และ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่จริงใจในการคืนอำนาจให้ประชาชนและไม่จริงจังกับการปฏิบัติตามโร้ดแม็ป ทั้ง ๆ ที่ประชาธิปไตยเป็นสิ่งที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญ รัฐบาลและ คสช. จึงไม่ควรพูดจาส่งเดชในเรื่องโร้ดแม็ป

ที่สำคัญ พวกท่านควรหยุดโทษคนอื่นเสียทีว่าเป็นต้นตอของปัญหาทางการเมือง เพราะตัวเองก็เป็นคู่ขัดแย้งทางการเมืองเหมือนกัน จึงถือว่ามีส่วนก่อปัญหาในบ้านเมืองด้วย อย่ามาทำเป็นลืมหรือทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้

แถมพวกท่านยังได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะฉวยโอกาสยึดอำนาจโดยอ้างเรื่องความขัดแย้ง แต่พอเข้ามาบริหารประเทศ ก็ไม่มีศักยภาพในการแก้ปัญหาความเดือดร้อน ทำให้ประชาชนมีความอดอยากปากแห้ง และมีความทุกข์มากกว่าในอดีตเสียอีก

จงอย่าทำผิดซ้ำซาก เหมือนที่แอบผลาญงบประมาณแผ่นดินเพื่อจัดซื้อเครื่องตรวจจับความเร็วที่มีราคาแพงเกินความจำเป็น ในขณะที่ประชาชนทั้งประเทศกำลังรัดเข็มขัดและบ้านเรือนราษฎรหลายจังหวัดยังจมอยู่ใต้น้ำซึ่งท่วมสูงจนมิดหลังคาบ้าน โดยที่รัฐบาลช่วยอะไรไม่ได้ แต่พอเป็นเรื่องผลประโยชน์ของนายทุน รัฐบาลกลับมีปัญญาแอบประกาศใช้ ม.44 ยกเว้นการบังคับใช้ก.ม. ผังเมือง ใน 3 จังหวัดชายทะเลภาคตะวันออกที่เป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ ทั้ง ๆ ที่ นักวิชาการและสื่อมวลชนคัดค้านเพราะกลัวว่า อาจเปิดช่องให้นายทุนเข้าไปสูบผลประโยชน์ทางทะเลของชาติและทำลายสิ่งแวดล้อมอย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตใครเนื่องจากไม่มี ก.ม. ควบคุมอีกแล้ว เป็นต้น

ยิ่งพวกท่านรีบ ๆ พ้นหน้าที่ไปเร็วเท่าไหร่ บ้านเมืองก็จะยิ่งฟื้นฟูและเดินไปข้างหน้าได้เร็วขึ้นเท่านั้น ว่าไหมคะ คุณผู้อ่าน

"วัฒนา" แนะคสช. เลิกถ่วงเวลาประชาชน-ปลดล็อคพรรคการเมือง


นายวัฒนา เมืองสุข แกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

“เลิกถ่วงเวลาได้แล้ว”

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หนึ่งในกฎหมาย 4 ฉบับที่รัฐธรรมนูญบังคับให้มีก่อนจัดการเลือกตั้ง ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2560 เป็นผลให้พรรคการเมืองมีหน้าที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายภายใน 180 วัน เช่น ดำเนินการให้มีสมาชิกครบตามจำนวนที่กำหนด จัดให้มีทุนประเดิมครบ 1 ล้านบาท จัดให้สมาชิกชำระค่าบำรุงพรรค จัดให้มีการประชุมใหญ่เพื่อแก้ไขข้อบังคับฯ เลือกหัวหน้า เลขา และกรรมการอื่นของพรรค รวมถึงจัดตั้งสาขาพรรคให้ครบ หลายฝ่ายจึงออกมาเรียกร้องให้ คสช. ปลดล็อคให้พรรคการเมืองทำกิจกรรม

รองหัวหน้า คสช. ตอบสนองเรื่องนี้อย่างไม่สำเหนียกว่ายังไม่มีการประชุม ส่วนผมไม่ขอเรียกร้องเพราะเป็นอำนาจของประชาชนและ คสช. ไม่มีทางต้านกระแสเรียกร้องจากทุกฝ่ายได้ ที่สำคัญคือตลอดเวลาเกือบ 4 ปีที่เป็นรัฐบาล คสช. ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไร้ความสามารถในการบริหาร ประเทศเกิดความเสียหายแทบทุกด้านและไม่เคยเห็นหัวประชาชน แม้ประชาชนจะได้รับความทุกข์ยากแต่รัฐบาลกลับให้ความสำคัญกับการใช้งบประมาณที่ไม่เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ เช่น การซื้ออาวุธ หรืออนุมัติงบกลางที่ควรเอาไปช่วยพี่น้องประชาชนที่ถูกน้ำท่วมมาซื้อเครื่องตรวจจับความเร็วราคาแพงแต่หาประโยชน์ไม่ได้ พอมีคนทักท้วงก็แก้ตัวโทษรัฐบาลก่อน หรือล่าสุดหัวหน้า คสช. ฉวยโอกาสก่อนงานพระราชพิธีใช้อำนาจตามมาตรา 44 ยกเว้นผังเมืองของสามจังหวัดทางภาคตะวันออก

สิ่งที่ คสช. ควรทำคือเลิกถ่วงเวลาของประชาชน รีบปลดล็อคพรรคการเมือง นำพาประเทศเข้าสู่ความเป็นประชาธิปไตย ยกเลิกบรรดาคำสั่ง หรือประกาศที่จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ยกเลิกการดำเนินคดีกับประชาชนที่เห็นต่าง รวมถึงตัวเองจะต้องเลิกออกคำสั่งที่เป็นเผด็จการด้วย ทำประเทศเสียโอกาสมามากแล้วหัดทำความดีให้กับประชาชนบ้าง เผื่อวันข้างหน้าประชาชนอาจจะเมตตาให้อภัย

วัฒนา เมืองสุข
สมาชิกพรรคเพื่อไทย
30 ตุลาคม 2560

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2560

แสตมป์ของพ่อ 2493 เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม


นิทรรศการ "แสตมป์ของพ่อ 2493 เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" ณ ไปรษณีย์กลาง บางรัก กรุงเทพฯ ภายในงานจะได้เรียนรู้เรื่องราวของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตั้งแต่พระราชสมภพ ตลอดจนช่วงเวลา 70 ปี ของการครองราชย์และพระราชกรณียกิจผ่านดวงตราไปรษณียกร โดนผู้เข้าชมจะได้รับโปสการ์ดและบัตรภาพผนึกตราไปรษณียากร รัชกาลที่ 9 เป็นจองที่ระลึกด้วย เปิดให้เข้าชมถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 (เปิดวันอังคาร-อาทิตย์) เวลา 9.00-19.00 น.

















วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2560

พรรคเพื่อไทย ร่วมถวายดอกไม้จันทน์


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แกนนำและสมาชิกพรรคเพื่อไทย อาทิ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ รักษาการหัวหน้าพรรค นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายชูศักดิ์ ศิรินิล ประธานคณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคเพื่อไทย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ฯลฯ ร่วมถวายดอกไม้จันทน์ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก








"ครอบครัวชินวัตร" ร่วมถวายดอกไม้จันทน์


"ครอบครัวชินวัตร" ถวายดอกไม้จันทน์ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร ณ วัดนวลจันทร์ ‬

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ พร้อมด้วยคุณพานทองแท้ ชินวัตร คุณพินทองทา ชินวัตร-คุณากรวงศ์ และ คุณแพทองธาร ชินวัตร เดินทางมาร่วมถวายดอกไม้จันทน์ ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุยเดช บรมนาถบพิตร ณ วัดนวลจันทร์ ‬




99 ศิลปกรรม รำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่9


นิทรรศการเทิดพระเกียรติ “99น้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร” เพื่อถวายราชสดุดี และน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร โดยนิทรรศการฯ จัดแสดงผลงานของศิลปินแห่งชาติ ศิลปินอาวุโส และศิลปินที่มีชื่อเสียง จำนวน 99 คน จัดแสดงถึงวันที่ 5 ธันวาคม 2560 บริเวณชั้น 1 ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน ซึ่งจะเปิดให้บริการทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ (ยกเว้นวันจันทร์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่ เวลา 10.00-19.00น. เป็นต้นไป











วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2560

วิจิตรตระการตา! ซุ้ม "ดอกไม้เพื่อพ่อ" ปากคลองตลาด


ซุ้มดอกไม้สดจากทั่วทุกมุมโลกมาจัดแสดงในกิจกรรม ดอกไม้เพื่อพ่อ โดยชุมชนปากคลองตลาดและจิตอาสากว่า 4,000 คน ร่วมใจกันเนรมิตถนนจักรเพชรความยาว 400 เมตร โดยมีการจัดแบ่งออกเป็น 6 ซุ้ม ได้แก่ ซุ้มคนไทย (Thais) ซุ้มสายฝน (The Rain) ซุ้มรอยเท้าพ่อ ซุ้มบ้าน (Home) ซุ้ม 9 (King Rama IX) และซุ้มมณฑารพ ทั้งนี้การเข้าชมเจ้าหน้าที่จะเปิดให้ประชาชนได้ต่อแถวเข้าชมทางเดียวโดยเริ่มจากฝั่งเชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ เปิดให้ประชาชนได้เข้าชมไปจนถึงวันที่ 27 ตุลาคม 2560