นายเรืองไกร กล่าวว่า "กรณีความในมาตรา 9 ดังกล่าว มีเนื้อความเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อ กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเจาะจงที่อาจขัดมาตรา 26 วรรคสอง และอาจเข้าข่ายการขัดกันแห่งผลประโยชน์ ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา 185 (1) ตามมาอีกด้วย"
นายเรืองไกร กล่าวต่อว่า "เพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 185 (1) เป็นบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ สนช. ใช้ สถานะไปก้าวก่ายหรือแทรกแซงการปฏิบัติราชการหรือการดําเนินงานในหน้าที่ประจําของ ข้าราชการ หากใครกระทําการฝ่าฝืนมาตรานี้ก็อาจถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ต้องพ้นจาก ตําแหน่งตามมาตรา 101 (7)"
ทั้งนี้ ความในร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรป. กกต. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา 9 ระบุไว้ว่า "บรรดา การดําเนินการใดๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกและการแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง ซึ่งได้ดําเนินการอยู่ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันสิ้นผลไปนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ"
แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับ เป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง"
นายเรืองไกร กล่าวตามมาว่า "ตามร่างฯ มาตรา 9 ที่จะใช้บังคับแก่กรณีผู้ตรวจการเลือกตั้งเป็นการเจาะจงนั้น จึงอาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคสอง และอาจมีลักษณะเข้าข่ายตามความในมาตรา 185 (1) ที่ กกต. สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้"
นายเรืองไกร กล่าวสรุปว่า "ด้วยเหตุนี้ตนจึงได้มายื่นหนังสือให้ กกต. ใช้อ่านาจตามมาตรา 82 วรรคสี่ พิจารณาตรวจสอบเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป"
ทั้งนี้ ความในร่างแก้ไขเพิ่มเติม พรป. กกต. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาตรา 9 ระบุไว้ว่า "บรรดา การดําเนินการใดๆ เกี่ยวกับการคัดเลือกและการแต่งตั้งผู้ตรวจการเลือกตั้ง ซึ่งได้ดําเนินการอยู่ ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันสิ้นผลไปนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ"
แต่รัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคสอง บัญญัติไว้ว่า "กฎหมายตามวรรคหนึ่ง ต้องมีผลใช้บังคับ เป็นการทั่วไป ไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง"
นายเรืองไกร กล่าวตามมาว่า "ตามร่างฯ มาตรา 9 ที่จะใช้บังคับแก่กรณีผู้ตรวจการเลือกตั้งเป็นการเจาะจงนั้น จึงอาจขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26 วรรคสอง และอาจมีลักษณะเข้าข่ายตามความในมาตรา 185 (1) ที่ กกต. สามารถส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้"
นายเรืองไกร กล่าวสรุปว่า "ด้วยเหตุนี้ตนจึงได้มายื่นหนังสือให้ กกต. ใช้อ่านาจตามมาตรา 82 วรรคสี่ พิจารณาตรวจสอบเพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น