#TV24 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 6 สิงหาคม 2561 ที่สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกวุฒิสภา เดินทางมายื่นหนังสือต่อเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อแสดงหลักฐานเพิ่มเติมที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอันจะนำไปสู่การพิจารณาได้ว่า นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถูกดำเนินคดีที่เข้าข่ายความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง
นายเรืองไกร กล่าวว่า "ก็เห็นข่าวซึ่งน่าจะเป็นประเด็น IO กันบางอย่าง จากทางการไทยไปทางอังกฤษ ก็มีการหยิบประเด็นนี้มาใช้กับ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ผมติดตามข่าวแต่ไม่เข้าใจในเนื้อหากฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างแท้จริง มีทั้ง นายวิษณุ เครืองาม ก็พูด นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ก็พูด ก็เห็นว่าการที่เอาประเด็นนี้จากทางอังกฤษขึ้นมาเปิดเผย ผมก็จำเป็นที่จะต้องมาอธิบายความให้กับทางรัฐบาลประเทศอังกฤษผ่านทางสถานทูต ว่า ในความจริงแล้วที่พูดกันมันมีการพูดกันไม่หมด พูดไม่ตรง มีการบิดเบือนเพื่อหวังผลทางการเมืองกันหรือไม่?"
นายเรืองไกร กล่าวต่อว่า "
ต้นสายปลายเหตุมาจากคดีทางการเมืองหรือไม่? โดยส่วนตัวเห็นเป็นการเมืองอยู่แล้ว ตั้งแต่การปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2549 การตั้ง ป.ป.ช. โดยที่ไม่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้ง ก็รู้กันอยู่แล้วว่ามาโดยอำนาจ "รัฏฐาธิปัตย์" อย่างนี้ไม่ใช่การเมืองเหรอครับ?"
"ป.ป.ช. ที่แต่งตั้งมาขณะนั้น 9 คน เหลือมาอยู่ประมาณ 5 คน ก็มาร่วมพิจารณาชี้คดีท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อยู่ใน 2 ประเด็น คือ 1 ประเด็นถอดถอนจากตำแหน่ง 2 ประเด็นความผิดทางอาญาจากศาลฎีกานักการเมือง ต่อมาวันที่มีการถอดถอนมีการสั่งฟ้องโดนอัยการสูงสุดในสมัยนั้น
หลังจากนั้นโครงการรับจำนำข้าวก็ถูกรัฐบาลของ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่สั่งให้ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล ปิดโกดังตรวจสต็อกข้าว แล้ววันนี้เป็นไง บัญชีไม่มี แต่บอกข้าวหายเกือบล้านตัน ตรวจกันยังไง? แล้ว สตง. ตรวจเป็นเหรือครับ? บัญชียังไม่เคยปิด แล้วจะไปนับสต็อกตรงไหน?" นายเรืองไกรกล่าว
นายเรืองไกร ยังกล่าวอีกว่า "จากการประมวลกรณีดังกล่าวท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกข้อหาทางการเมืองเพื่อตัดสิทธิไม่ให้ท่านเข้าสู่สนามการเมืองในเลือกตั้งครั้งต่อไป ประเด็นที่หนึ่งคือถอดถอนตัดสิทธิทางการเมือง รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อำนาจ ก็ไปออกข้อบังคับให้ สนช. มีอำนาจ บอกว่าคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยื่นคำร้องไม่ถูกก็ไม่พิจารณา เอา กปปส. 6 คน มาร่วมเซ็นชื่อด้วยก็ไม่สนใจ จะนับแต่คะแนนเสียงว่าถอดถอนแล้ว นี่คือเหตุผลที่ผมบอกว่า Form over Substance หรือที่เรียกว่า ทำรูปแบบให้สำคัญกว่าเนื้อหา"
ทั้งนี้ นายเรืองไกร อ้างด้วยว่า "สัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างกรุงสยามกับอังกฤษเมื่อวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ.1911 หาใช่สนธิสัญญาแต่อย่างใด โดยสัญญาดังกล่าวข้อ 2 วรรคหนึ่ง ระบุความผิดซึ่งอาจจะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้มีเพียงโทษ 31 รายการเท่านั้น ซึ่งไม่มีการระบุถึงโทษคดีทางการเมืองไว้แต่อย่างใด และความในสัญญาข้อ 2 วรรคสาม ก็ระบุไว้ชัดเจน ดังนี้ “
ถ้าโทษอย่างอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ถ้ามีความอยู่ในกฎหมายซึ่งใช้อยู่ทั้งสองฝ่ายว่าจะส่งผู้ร้ายให้กันและกันได้ ก็สุดแล้วแต่ประเทศซึ่งรับคำขอให้ส่งนั้นจะเห็นสมควรว่า จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้ต่อกันหรือไม่?"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น