วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2561
"เพื่อไทย" ยื่นค้าน พรบ.กทม.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวิชาญ มีนชัยนันท์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย พร้อมคณะ ได้เดินทางมาที่อาคารรัฐสภา เพื่อยื่นหนังสือต่อ นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คัดค้านร่างพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีเนื้อหาดังนี้
ตามที่สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร ท้องถิ่น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เห็นควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายจัดตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 5 ฉบับ ซึ่งหนึ่งในนั้นจะเป็นร่างพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 4 กันยายน 2561 ไปแล้วนั้น
ข้าพเจ้าในฐานะประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร อดีตสมาชิกสภาเขต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอแสดงความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งเป็นร่างฯ ฉบับที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี และได้ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ พิจารณา โดยมีประเด็นที่ขอแสดงความคิดเห็น ดังนี้
1. ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ มาตรา 25 “ให้ดําเนินการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ในระหว่างที่ กฎหมายตามวรรคหนึ่งยังไม่มีผลใช้บังคับ มิให้นํามาตรา 71 ถึงมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 มาใช้บังคับ” ซึ่งตามมาตรา 71 ถึงมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบ บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 เป็นเรื่องของสภาเขตและสมาชิกสภาเขต จากบทบัญญัติดังกล่าวจึงถือ เป็นการยกเลิกการมีสภาเขต และสมาชิกสภาเขตไปโดยปริยาย ข้าพเจ้าในฐานะอดีตสมาชิกสภาเขต สมาชิกสภา กรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ขอเรียนว่าสมาชิกสภาเขตเป็นผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งจาก ประชาชน เป็นไปโดยสอดคล้องกับหลักการกระจายอํานาจและหลักการประชาธิปไตยที่ประชาชนมีสิทธิเลือกตัวแทน ของตนเข้าไปทําหน้าที่ และอํานาจหน้าที่ของสมาชิกสภาเขตไม่ขัดกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 นั้น
ข้าพเจ้าจึงขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาตัดวรรค 2 ใน มาตรา 25 ตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เพื่อคงไว้ซึ่งสภาเขตและตําแหน่งสมาชิกสภาเขตไปจนกว่าการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการ กรุงเทพมหานครให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศจะแล้วเสร็จ การคงไว้ซึ่งสภาเขตและ ตําแหน่งสมาชิกสภาเขตดังกล่าวประชาชนจะได้รับประโยชน์มากกว่าเสียประโยชน์
2. ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาในกระบวนการยกร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้อง ถิ่น พ.ศ. .... และแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 ฉบับ ของสํานักงานคณะ กรรมการกฤษฎีกาได้เปิดโอกาสให้มีการแสดงความคิดเห็นตามที่กฎหมายกําหนด โดยมีการรับฟังความคิดเห็นผ่าน เวปไซด์ซึ่งเป็นการรับฟังความคิดเห็นที่เข้าถึงยากจึงมีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเพียง 14 ราย และมีภาคเอกชนเข้า ยื่นหนังสือแสดงความคิดเห็นเพียง 6 ราย โดยมีความคิดเห็นจากข้าพเจ้าและคณะเพียงรายเดียวที่เสนอความคิดเห็น
ในร่างพระราชบัญญัติบริหารราชการกรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ทั้งที่กรุงเทพมหานครมีประชากรกว่า 5 ล้านคน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการที่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นเข้าถึงยาก ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี กระบวนการรับรู้ในช่องทางแสดงความคิดเห็นจึงไม่แพร่หลายไปสู่ประชาชนผู้มีส่วนได้เสียอย่างทั่วถึง นอกจากนี้จาก การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ในขั้นตอนต่างๆที่ผ่านมาไม่เคยมีการเรียนเชิญอดีตสมาชิกสภาเขต สมาชิกสภา กรุงเทพมหานคร และประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเข้าร่วมให้ข้อมูลชี้แจงเหตุผลแต่อย่างใด ดังนั้น ในวาระที่จะนําร่างพระราชบัญญัตินี้เข้าพิจารณาในชั้นกรรมาธิการ ข้าพเจ้าจึงขอความกรุณาให้สภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ได้เรียนเชิญตัวแทนอดีตสมาชิกสภาเขต ตัวแทนสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และตัวแทนประชาชนผู้มีสิทธิ เลือกตั้งเข้าร่วมประชุมเพื่อให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาด้วย
ข้าพเจ้าจึงขอเสนอความคิดเห็นทั้งสองประเด็นข้างต้นมายังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้การพิจารณาเป็น ไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนเป็นสําคัญ และเป็นการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการมีส่วนร่วมกับร่าง กฎหมายที่จะออกมาให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง
ขอแสดงความนับถือ
(นายวิชาญ มีนชัยนันท์)
อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเพื่อไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น