ดังนั้น เพื่อร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศดังกล่าว รัฐบาลควรแสดงสปิริตให้ประชาชนและชาวโลกเห็น ดังนี้
1. หัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) / นายกรัฐมนตรียังรักษาการฯ และมีอำนาจพิเศษตาม ม.44 บังคับใช้ไปจนกว่าการจัดตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้งแล้วเสร็จ ซึ่งจะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้แปลกที่สุดในโลก ที่คนนอกไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นยักษ์ถือกระบองคุมการเลือกตั้ง และตนเองมีสิทธิ์กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อ
2. องคาพยพของรัฐบาล ตั้งแต่รองนายกรัฐมนตรีลงมา ประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ทั้งยังมีการเตรียมการให้ รัฐมนตรีในคณะรัฐบาล มาเป็นผู้บริหารพรรคการเมืองที่จัดตั้งไว้ ไม่นับรวมกลุ่มการเมืองพลังดูดทั้งหลายประกาศสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็น นายกรัฐมนตรีต่อ
การทำงานการเมืองโดยยุติธรรมตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวไว้เมื่อวันที่ 3 ม.ค.61 ที่ผ่านมา เป็นเรื่องที่น่ายินดี ควรค่าแก่การต้อนรับ แต่พฤติการณ์ที่ยังคงอำนาจพิเศษดังกล่าวข้างต้นไว้ และยังรักษาการอยู่ จะทำให้การเลือกตั้งครั้งนี้เข้ากับคำพังเพยไทยที่ว่าเหมือนกับ "ปิดประตูตีแมว" เป็นการเอาเปรียบกันอย่างมาก ซึ่งเหตุการณ์จะคล้ายกับการทำประชามติ กฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2560 ที่ผ่านมา อันจะส่งผลให้การเลือกตั้งไม่ได้รับการยอมรับ ส่งผลเสียต่อความเชื่อมั่นประเทศ
นายชวลิต กล่าวในที่สุดว่า ภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลนี้ ประเทศไทยเพิ่งถูก UN ขึ้นบัญชีดำ เป็น "ประเทศที่น่าละอาย" ด้วยเหตุมีการข่มขู่ คุกคาม ประชาชนที่ให้ความร่วมมือกับ UN ในการต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งประชาชนคนไทยทั้งประเทศก็ต้องแบกรับความน่าละอายดังกล่าวไว้ด้วย
"ดังนั้น จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงสปิริตเลิกอำนาจพิเศษตาม ม.44 และการรักษาการระหว่างเลือกตั้ง เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างเสรีและเป็นธรรม อย่าให้ประเทศไทยถูกดาบสองจาก UN และนานาชาติทั่วโลก ไม่ยอมรับการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งจะส่งผลเสียหาย ตามมาอีกมากมายทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระหว่างประเทศ โดยเฉพาะจะกระทบต่อเกียรติยศ ศักดิ์ศรีของประเทศซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดของชาติ" นายชวลิต กล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น