วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561
"จาตุรนต์" ถาม ใครกันแน่ทำลายภาพลักษณ์ประเทศไทย
#TV24 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และแกนนำพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
ใครกันแน่ทำลายภาพลักษณ์ประเทศไทย
ตามที่ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกมาโต้ว่ารายงานประจำปีของผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งจะใช้ประกอบการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติต่อไป ข้อมูลไม่รอบด้าน เพราะที่ผ่านมา คสช.มีมาตรการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างดีมาตลอด ไม่ทราบว่าเอาอะไรมาพูด
สาเหตุที่เขาจัดประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นประเทศน่าละอายนั้นเพราะเขาได้ข้อมูลว่ามีการลงโทษบุคคลที่ร่วมมือกับสหประชาชาติและพบว่ารัฐบาลในประเทศเหล่านั้นมักตั้งข้อหานักสิทธิมนุษยชนด้วยข้อหาก่อการร้าย หรือตำหนิว่าไปร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศหรือทำลายชื่อเสียงของประเทศ ผู้ช่วยเลขาธิการสหประชาชาติคนนี้ยังบอกด้วยว่ากรณีที่อยู่ในรายงานเป็นเพียงยอดภูเขาน้ำแข็ง หมายความว่ายังมีเรื่องอีกมากที่ถูกปกปิดซ่อนเร้นอยู่ และยังบอกด้วยว่าพบการใช้มาตรการทางกฎหมายและมาตรการทางการเมืองการปกครองข่มขู่หรือปิดปากภาคประชาสังคมหรือพลเรือนมากขึ้นด้วย
เรื่องที่เขาค้นพบ ฟังแล้วใครๆก็ต้องบอกว่าคุ้นๆและเชื่อได้ว่าข้อมูลที่เขาได้เกี่ยวกับประเทศไทยคงไม่คลาดเคลื่อน ถ้าจะมีปัญหาก็อาจจะเป็นว่าเขายังค้นพบหรือได้รับรายงานปัญหาไม่มากเท่ากับที่เกิดขึ้นจริงเพราะผู้ประสบกับการข่มขู่คุกคามอาจจะไม่กล้ารายงานก็ได้
ไม่ต้องดูอะไรมาก การแถลงข่าวเกี่ยวกับรายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่จัดขึ้นในเมืองไทยถูกห้ามไปกี่ครั้งแล้ว และการที่ คสช. ออกมาตำหนิผู้ที่พูดถึงรายงานฉบับนี้ว่ามีบางฝ่ายไปขยายผลทำให้เสียภาพลักษณ์ของประเทศ ก็เท่ากับตอกย้ำว่าข้อมูลที่เขาพบเป็นเรื่องจริงและพร้อมที่จะเกิดมากขึ้นอยู่เสมอ
การพูดว่า คสช. และรัฐบาลนี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยถูกจัดเป็นประเทศน่าละอายไม่ใช่เรื่องใส่ร้ายขยายผล แต่เป็นการช่วยให้ คสช.และรัฐบาลรู้สึกสำนึกผิดเสียบ้างเพื่อรีบปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะถึงการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน ซึ่งถ้าเขาได้ข้อมูลว่า คสช.เที่ยวออกมาตำหนิหรือปรามผู้ที่วิจารณ์ ก็จะยิ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่เป็นผลเสียต่อประเทศไทยมากขึ้น
“Punishing individuals for cooperating with the United Nations is a shameful practice that everyone must do more to stamp out.”
Governments frequently charged human rights activists with terrorism or blamed them for cooperating with foreign entities or damaging the state’s reputation or security, it said.
U.N. Assistant Secretary-General for Human Rights Andrew Gilmour, who will present the report to the Human Rights Council next week, said in a statement that the cases in the report were the tip of the iceberg.
“We are also increasingly seeing legal, political and administrative hurdles used to intimidate – and silence - civil society,” he said.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น