1. สมรู้ร่วมคิดกันสร้างสถานการณ์ความวุ่นวาย แบ่งงานกันทำอย่างเป็นกระบวนการเป็นขั้นเป็นตอน เพื่อนำไปสู่การยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
2. ทำประชามติรัฐธรรมนูญในบรรยากาศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ประชาชนไม่สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น วิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญได้ เกิดความหวาดกลัวว่าจะไม่มีการเลือกตั้ง จนตัดสินใจโหวตรับรัฐธรรมนูญด้วยภาวะจำใจ
3. สร้างกลไก ส.ว.แต่งตั้ง 250 คน เพื่อเป็นคะแนนตุนในการโหวตเลือกนายกฯ
4. ออกแบบกติกาการเลือกตั้งที่ตั้งธงทำลายพรรคการเมือง ทำให้พรรคการเมือง อ่อนแอ เซ็ตซีโร่สมาชิกพรรคการเมืองจากยอดเดิมหลักแสน หลักล้านคน เหลือเพียงยอดหลักพัน หลักหมื่นคน
5. มีมาตรา 44 เป็นดาบอาญาสิทธิ์ข้างกาย ใช้ทั้งฟาดฟันและป้องกัน สามารถตัดสิน ลงดาบได้ในทุกกรณี จนกระทั่งได้รัฐบาลชุดใหม่
6. สร้างยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นแผนสืบทอดอำนาจ โดยรัฐบาลหลังเลือกตั้งจะต้องเดินตามกรอบยุทธศาสตร์ชาตินี้ หากไม่ทำตาม อาจนำไปสู่การถอดถอนหรือลงโทษทางอาญา
7. เซ็ตซีโร่องค์กรอิสระบางองค์กร และไม่เสร็จซีโร่บางองค์กร ตามสถานการณ์ความจำเป็นของผู้มีอำนาจ และพยายามขยายอาณาเขตอิทธิพลเข้าไปในองค์กรอิสระเหล่านั้น
8. ทำโครงการไทยนิยมยั่งยืน แจกเงินหมู่บ้านหรือชุมชนละ 200,000 บาท สร้างความนิยมเฉพาะหน้า โดยในช่วง 2-3 ปีแรก ไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรในลักษณะนี้เลย แต่พอใกล้เลือกตั้ง ก็ปั่นโครงการเพื่อสร้างคะแนนนิยมเฉพาะหน้า
9. ให้รัฐมนตรีในรัฐบาลไปเป็นกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่มีชื่อพ้องกับนโยบายที่สร้างจากภาษีอากรของประชาชน โดยไม่ลาออก ไม่ฟังเสียงประชาชน
10. ไม่ปลดล็อกพรรคการเมือง ห้ามพรรคการเมืองทำกิจกรรม แต่ปล่อยให้กลุ่มการเมืองในสังกัดของตัวเอง ทำกิจกรรมได้อย่างเต็มที่ เพื่อช่วงชิงความได้เปรียบให้มากที่สุด สร้างโมเดลการเลือกตั้งคล้ายกับการทำประชามติ โซเชียลมีเดียถูกกำหนดให้ใช้อย่างมีเงื่อนไขและข้อจำกัด เปิดทำเนียบฯเป็นที่ทำการพรรคการเมือง ตบรางวัลมอบตำแหน่งให้กับคนร่วมในแผนยึดอำนาจ ให้มาทำงานกับรัฐบาล
ประชาชนเป็นห่วงและมีคำถามว่าแผนบันได 10 ขั้น เพื่อการสืบทอดอำนาจมีจริงหรือไม่? และกังวลว่าหากมีจริงจะเกิดการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรมได้อย่างไร? จึงขอเรียกร้องให้
(1.) ไม่ใช้มาตรา 44 อีกต่อไป
(2.) ให้รัฐมนตรี 4 คน ที่ไปทำงานการเมือง ลาออก
(3.) ปลดล็อกให้พรรคการเมืองสามารถทำกิจกรรมทางการเมืองได้
(4.) ให้พรรคการเมืองสามารถรับฟังและพบปะประชาชนเพื่อการจัดทำนโยบายได้"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น