วันอังคารที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2561
"ชลน่าน" แนะรัฐทบทวนมาตรการใช้รถฉุกเฉิน
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง กรณี สถ. ห้ามรถฉุกเฉิน อปท.รับส่งผู้ป่วยตามใบนัดแพทย์ ให้ใช้กรณีฉุกเฉินเท่านั้น ก่อให้เกิดปัญหากับ อปท.หลายๆแห่ง โดยเฉพาะ อปท ขนาดเล็ก ที่มีรกฉุกเฉิน เพียงคันเดียว ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั่วไปที่ต้องใช้บริการของ อปท ในการรับส่งผู้ป่วยไป รับบริการที่ รพ.สต หรือตาม รพ.ต่างๆ ถึงแม้ว่ากรณีเป็นผู้ป่วยยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง อธิบดี สถ.ออกมาเน้นย้ำให้ผู้ป่วยเหล่านี้ ไปขอรับบริการจาก อปท.ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยเงินช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจของ อปท 2560 และ อปท ก็สามารถให้ความช่วยเหลือจัดรถฉุกเฉินไปรับส่งได้ แต่ก็ทำความลำบากใจของผู้บริหาร อปท ในการที่จะพิจารณาอนุมัติ ให้ดำเนินการได้เหมือนเดิม เนื่องจากมีข้อกังวลว่า กรณีมีเหตุจำเป็นฉุกเฉินเกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถส่งรถฉุกเฉินเข้าไปช่วยเหลือภายในระยะเวลาอันเหมาะสมตามระยะทางได้ ภาระรับผิดชอบจะตกกับ ผู้บริหาร อปท โดยตรง จึงเป็นไปได้สูงมากที่ผู้ป่วยเหล่านี้ จะถูกปฏิเสธ ไม่ได้รับความช่วยเหลือ ผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะไม่ได้รับการดูแล การรักษาพยาบาล ที่ถูกต้องเหมาะสม ทำไห้เกิดภาวะแทรกซ้อน จนเป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้
ทางออกของเรื่องนี้ ที่เหมาะสมสำหรับ อปท ขนาดเล็กที่มีรถฉุกเฉินเพียง 1 คัน ซึ่งส่วนมากได้รับอนุญาตให้เป็นรถฉุกเฉินประเภทรถกู้ภัยเบื้องต้น(FR) มีรถฉุกเฉิน ประเภท กู้ชีพขั้นต้น (BLS) บ้าง บางแห่ง ตามแนวทางปฏิบัติ ของ สถ. ก็ต้องใช้บริการสำหรับ กรณีฉุกเฉินเท่านั้น
กรณีมีความจำเป็นจะต้องให้ความช่วยเหลือในการรับส่งผู้ป่วยที่ไม่เข้าข่ายฉุกเฉิน โดยเฉพาะผู้ป่วยยากไร้ ผู้ป่วยติดเตียง มารับการดูแลรักษาที่สถานพยาบาล ควรดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ทำความตกลงกับหน่วยงานตรวจตรวจสอบ พิจารณาทบทวนระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในการใช้งบประมาณ โดยกำหนดให้การรับส่งผู้ป่วย เป็นภาระกิจของรถฉุกเฉิน หรือ
2. สถ.ต้องผ่อนปรนหลักเกณฑ์แนวทางปฏิบัติ ให้ อปท สามารถใช้ดุลยพินิจให้ใช้รถฉุกเฉิน บริการผู้ป่วยได้ทุกประเภท ไม่เน้นเฉพาะผู้ป่วยยากไร้และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่ใช่กรณีฉุกเฉิน โดยมีเงื่อนไขว่า ขณะนำรถฉุกเฉินไปให้บริการอื่น กรณีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นจะต้องมีรถฉุกเฉิน เข้าไป ถึง ณ จุดเกิดเหตุ ภายในระยะเวลาที่กำเหนดได้
3. เพื่อรองรับเงื่อนไข ตามข้อ 2 อปท ที่อยู่ใกล้เคียงกัน พื้นที่ติดต่อกัน ต้องจัดตั้งเครือข่าย รถบริการฉุกเฉิน ที่มีความพร้อม โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร สามารวถตรวจสอบ ตรวจทานกันอยู่ตลอดเวลา ที่จะเข้าไปทำหน้าที่ทดแทนกันได้ อย่างทันท่วงที
การนี้นอกจากจะแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนแล้ว ยังทำให้หน่วยกู้ภัย กู้ชีพ มีเครือข่ายการทำงานอย่างเข้มแข็ง เรียนรู้พัฒนาร่วมกัน ถึงพร้อมเรื่องมาตรฐานการกู้ภัย และการกู้ชีพ และเป็นการใช้ทรัพยากร และบุคคลากร งบประมาณ ที่เป็นภาษีอากรของพี่น้องประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย
ส่วน อปท ที่มีศักยภาพ ก็สามารถจัดหายานพาหนะที่ไม่ใช่รถฉุกเฉิน หรือจัดหารถฉุกเฉินสำรองใว้อีก 1 คัน เป็นรถบริการสาธารณะใว้บริการรับส่ง ผู้ป่วย เด็กนักเรียน พี่น้องประชาชนได้ตามความเหมาะสม
ต้องขอขอบคุณแพทย์ พยาบาล โดยเฉพาะ "คุณหมอสุภัทร" ที่เห็นความเดือดร้อนของผู้ป่วย และความสัมพันธ์อันดีของ อปทและสถานพยาบาลที่ช่วยกันดูแลสุขภาพ การเจ็บป่วย ของประชาชน ออกมาช่วยกระตุกต่อมคิดของ ผู้บริหาร สถ.ในฐานะผู้กำหนดระเบียบ แนวทางปฏิบัติ โดยเปรียบเทียบให้เห็นภาพอย่างชัดเจน "ห้ามรถฉุกเฉินส่งผู้ป่วย แต่รถถังกลับใช้รัฐประหารได้" เรียกร้องให้ผู้บริหาร อปท ระดับปฏิบัติในพื้นที่ หาแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสมเสนอเป็นแนวทางปฏิบัติ เพื่อให้บริการพี่น้องประชาชน โดยคำนึงถึงความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน ดูแลพี่น้องประชานชน โดยใช้เงินภาษีอากรของพี่น้องประชาชน ให้คุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด
หวังว่าข้อเสนอนี้ จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายนะครับ
นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว
อดีตส.ส น่าน อดีต รมช. สาธารณสุข
พรรคเพื่อไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น