นายวิชาญ มีนชัยนันท์ นายประเดิมชัย บุญช่วยเหลือ นายประพนธ์ เนตรรังษี และนายณรงค์ รุ่งธนวงศ์ ตัวแทนพรรคเพื่อไทยเข้าให้ข้อมูล ตามที่ได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พรบ.กทม.ฉบับใหม่ นั้น
นายวิชาญ และคณะ ได้ให้ข้อมูลต่อคณะกรรมาธิการว่าในกรณีที่จะไม่ให้มีการเลือกตั้ง ส.ข.ไว้ชั่วคราว และอาจมีการยกร่างกฎหมายใหม่ในอนาคตให้ไม่มี ส.ข.นั้น ขอตั้งข้อสังเกตดังนี้
1.กระบวนการยกร่าง พรบ.ฉบับนี้ไม่ได้มีการเชิญผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมยกร่างตั้งแต่ในชั้น สปท. มีเพียงการให้มาร่วมแสดงความคิดเห็นในฐานะประชาชนทั่วไปเท่านั้น และกระบวนการรับฟังความคิดเห็นในช่วงการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฏีกาก็ไม่เป็นที่แพร่หลาย ทั้งที่เป็นกฎหมายฉบับสำคัญที่จะต้องบังคับใช้กับประชาชนทุกคนในกรุงเทพมหานคร เพราะมีผู้แสดงความคิดเห็นในนามพรรคการเมืองเพียงรายเดียว คือ คณะจากพรรคเพื่อไทยเท่านั้น
2.จากหลักการและเหตุผลที่คณะกรรมาธิการได้ส่งให้ เนื้อหาในร่างฉบับนี้ทั้งหมดเป็นการยกร่างเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติว่าการมี ส.ข.ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างไร และผู้ยกร่างก็ไม่ได้มีบันทึกในหลักการและเหตุผลในการห้ามเลือกตั้ง ส.ข.ไว้
3.คณะผู้ชี้แจงจากพรรคเพื่อไทยจึงเสนอให้มีการยกร่างใหม่ทั้งฉบับเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรืออย่างน้อยให้ตัดวรรค 2 ในมาตรา 23 ที่ห้ามเลือกตั้ง ส.ข.ทิ้ง เพื่อให้มีการเลือกตั้ง ส.ข.ต่อไป จนกว่าการยกร่างกฏหมายฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศจะแล้วเสร็จ
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า ขอฝากเรื่องนี้ไปถึง ฯพณฯ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ให้ช่วยกรุณาลงมาดูเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด เพราะพื้นที่ กทม.เป็นสังคมเมืองที่มีความซับซ้อนมีโครงสร้างใหญ่แต่กลับมีความพยายามทำให้มีผู้แทนที่มาจากประชาชนน้อยลง ซึ่งร่างกฏหมายฉบับนี้ไม่สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ และประชาชนจะเป็นผู้เสียประโยชน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น