ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ สุรนาทยุทธ์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า วันนี้เราคงไม่ต้องเกริ่นถึงปัญหาฝุ่น PM2.5 ว่ากระทบกับสุขภาพเราแค่ไหนและอย่างไร และคงไม่ต้องถามว่าใครได้รับผลกระทบบ้าง เพราะพรรคเพื่อไทย เชื่อว่าประชาชนคนไทยทุกคนที่พักอาศัย เดินทางสัญจรใน กทม.และปริมณฑลย่อมรู้สึกถึงฝุ่นในลำคอ ย่อมมองเห็นกลุ่มหมอกควันในทุกครั้งและทุกวันที่เราออกจากบ้าน หากสิ่งที่รัฐบาลบอกว่าทำแล้ว และทำได้ดีแล้ว เช่นการล้างถนนไม่กี่จุด พ่นละอองน้ำบนตึกใบหยก 1 จุด แล้วสามารถแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ได้ทั้งหมดนั้น ประชาชนตาดำๆ อย่างเราๆ คงไม่ต้องมาทนดมอากาศเป็นพิษที่เพิ่มขึ้นในทุกวันแบบนี้มาตลอดเกือบ 1 เดือน และไม่รู้ว่าจะมีจุดสิ้นสุดเมื่อใด พรรคเพื่อไทยห่วงใยสุขอนามัยของประชาชนทุกคน เพราะจากการที่รัฐบาลมาออก ข่าวว่าประชาชนต้องดูแลตนเองนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ควรเพราะรัฐควรต้องรับผิดชอบ และเร่งแก้ไขปัญหาฝุ่นพิษที่เพิ่ม มากขึ้นทุกวัน ซึ่งพรรคการเมืองเกือบทุกพรรคมักพูดถึงแต่ปัญหาเศรษฐกิจ เพราะอาจเห็นว่าปัญหาปากท้องเป็นสิ่ง ที่ต้องการในตลาด แต่หากวันนี้เรามีเงินแต่ต้องสูดอากาศที่เป็นพิษ เข้าไปทุกวัน เงินที่เรามีคงไม่มีประโยชน์ เพราะอันตรายในครั้งนี้ถึงกับชีวิต ซึ่งประชาชนคนไทยต้องการแก้ไขอย่างจริงจังและทันท่วงที
ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ กล่าวต่อว่า มีหลายสิ่งอย่างที่ภาครัฐควรเป็นแกนนำ และเร่งประสานไปยังเอกชนทุกภาคส่วน เพื่อช่วยกันผลักดันแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการแก้ปัญหาฝุ่นพิษครั้งนี้ เช่น
1. ปัญหาจากการก่อสร้างรถไฟฟ้าหลายจุดในกทม. รัฐต้องจัดการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดโดยควรจัดระเบียบ ดังนี้ เช่น งดก่อสร้างในเวลากลางวัน เพื่อคืนพื้นที่การจราจร ให้รถยนต์มีความคล่องตัวในช่วงเวลา กลางวัน และเปลี่ยนเวลาการก่อสร้างเป็นเวลากลางคืนพราะ หากรถติดน้อยลงจะลดปัญหาฝุ่น PM2.5 ลงได้บ้าง เพราะที่ผ่านมาในช่วงปีใหม่ ผู้คนกลับบ้าน รถยนต์ในกรุงเทพ เบาบาง ตรวจพบว่าค่าฝุ่นพิษ ลดลงในหลายพื้นที่ ณ ช่วงเวลาดังกล่าว
2. รัฐต้องประกาศหยุดใช้และนำเข้าพลังงานถ่านหิน ควบคุมโรงงานขยะอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะโรงงานที่นำวัสดุ รีไซเคิลมาจากประเทศจีน รัฐควรยกเลิกคำสั่ง คสช. ที่ใช้มาตรา 44 ซึ่งยกเว้นการทำ EIA และผังเมือง สำหรับการ สร้างโรงงานไฟฟ้าขยะ เพราะปัญหาฝุ่นพิษในปัจจุบันมีมากเพียงพอแล้ว รัฐไม่ควรสนับสนุนการสร้างมลพิษให้เพิ่ม ขึ้นอีก รัฐควรควบคุมการปล่อยควันพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท การก่อสร้างขนาดใหญ่ต้องจัดให้มี หน่วยงานตรวจปริมาณฝุ่นทุกวันทุกพื้นที่ พร้อมทั้งขอความร่วมมือให้โรงงานหยุดเดินเครื่องในวันที่มลพิษเกิน มาตรฐาน เพราะปัจจุบันยังมีหลายแห่งที่ยังดำเนินกิจการอยู่และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก
3. ภาครัฐต้องรณรงค์ขอความร่วมมือจากภาคเอกชนในทุกจุดที่มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน โดยสนับสนุนให้มี การพ่นละอองน้ำและรัฐเป็นผู้สนับสนุนอุปกรณ์แก้ปัญหาฝุ่นพิษที่ได้มาตรฐานสากลพร้อมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายที่เอกชนต้องจ่ายตามจริง และควรพิจารณาอนุมัติการติดตั้งเครื่องดูดฝุ่นยักษ์แบบประเทศจีนที่ได้มีการทดลองวางเครื่อง ฟอกอากาศยักษ์ ซึ่งสามารถลดระดับมลพิษ จากระดับรุ่นแรงมากเป็นระดับปานกลางได้ในหลายพื้นที่ รวมถึงยัง สามารถกำจัดไนโตรเจนออกไซด์ในอากาศได้ถึงร้อยละ 80 พ้อมทั้งยังสามารถฟอกอากาศได้ถึง 5.4 ล้านลูกบาศก์ เมตรต่อชั่วโมง
4. รัฐบาลควรสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด เช่น ก๊าซธรรมชาติ โดยพัฒนาให้ใช้กับอุตสาหกรรมและยานยนต์ ในบ้านเรา เพราะปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกก๊าซไปขายที่ต่างประเทศในราคาถูก หากเราสามารถนำมาพัฒนาใช้ในบ้านเราก็จะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย โดยควบคุมน้ำมันดีเซลให้ได้มาตรฐาน ยูโร 6 เพราะเป็นพลังงานที่สะอาดกว่า ยูโร 4 และ5 ที่ใช้ในปัจจุบัน และควรใช้งบประมาณกองทุนน้ำมันควบคุมราคา น้ำมันดีเซล ยูโร 6 ให้ไม่เกิน 23 บาทต่อลิตร และส่งเสริมการใช้รถยนต์ Hybrid และ Electrical Vehicles เช่น เพิ่ม มาตรการการลดหย่อนภาษีนำเข้ารถยนต์ประเภทนี้ ลดค่าต่อภาษีทะเบียนรถยนต์ประจำปี และผลิตรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อใช้เองและเพื่อการส่งออก
ร.ต.อ.วัฒนรักษ์กล่าวว่า ย้อนไปสมัยปี 54 ที่เกิดปัญหาน้ำท่วม ภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง ตั้ง War Room ร่วมแก้ปัญหา เพราะรัฐบาลในสมัยนั้นมีความจริงใจในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างจริงจัง ซึ่งตัวผมเองในตอนนั้นก็ได้ร่วมมือช่วยเหลือป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตบางซื่อ ซึ่งเป็นบ้านที่ผมพักอาศัย แต่ปัญหาฝุ่นมลพิษในวันนี้ รัฐบาลยังไม่ได้แก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ประชาชนทุกคนยังคงต้องใช้ชีวิตใน กทม.และปริมณฑล ได้รับผลกระทบ จากการหายใจเอาตะกั่ว โลหะหนัก สารพิษต่างๆที่ติดกับฝุ่น PM2.5 เข้าปอดทุกวินาที เพียงเพราะ ณ วันนี้พรรคเพื่อไทยไม่ได้เป็นรัฐบาล ซึ่งถ้าหากพรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล ป่านนี้คงแก้ไขปัญหานี้ได้จบไปแล้ว เพราะเรามีทีมนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมืออาชีพ ที่ได้รับการยอมรับจากองค์การระหว่างประเทศหลากหลายองค์กร ซึ่งพร้อมเข้าแก้ไขปัญหานี้ได้ทันที
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น