เมื่อคราวที่พรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐบาลในปี 2544 ประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากวิกฤตต้มยำกุ้งทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศหมดต้องกู้จากไอเอ็มเอฟ นโยบายที่นายกทักษิณใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยเรียกว่า Dual Track Policy หรือนโยบายคู่ขนาน ด้วยการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายในเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับการส่งออกเพื่อให้เศรษฐกิจไทยสามารถยืนอยู่ได้บนขาตนเองไม่ต้องพึ่งพาการส่งออกเพียงอย่างเดียว เพราะหากโลกมีปัญหาเหมือนที่เกิดขึ้นอีกในวันนี้ไทยจะป่วยไปด้วย
สิ่งแรกที่นายกทักษิณทำคือการทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้เพื่อให้ประชาชนและนักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในตัวผู้นำและรัฐบาล เพราะหัวใจสำคัญของการบริหารคือความเชื่อมั่น (trust) ที่จะมีต่อรัฐบาลและนโยบายอันจะนำมาซึ่งความมั่นใจ (confidence) ที่จะมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การจัดตั้งธนาคารประชาชนหรือที่เรียกว่ากองทุนหมู่บ้าน เพื่อเป็นแหล่งทุนให้ประชาชนได้กู้ยืมมาเป็นทุนหมุนเวียนใช้ทำมาหากินแต่ต้องคืนเพราะไม่ใช่การแจกหรือให้เปล่า โดยรัฐบาลได้โอนเงินผ่านธนาคารออมสินไปให้หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท ก่อนหน้านี้ประชาชนเข้าไม่ถึงแหล่งทุน เมื่อมีกองทุนหมู่บ้านทำให้ประชาชนสามารถกู้ยืมเงินไปเป็นทุนทำมาหากินได้ จึงเกิดการบริโภคที่ยั่งยืนเพราะมาจากการผลิต
นายกทักษิณยังสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นผลิตสินค้าเด่นของตนเองภายใต้โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
หรือ OTOP
ซึ่งอาจเป็นของกินหรือเครื่องมือเครื่องใช้โดยรัฐบาลสนับสนุนแหล่งทุนที่ใช้ผลิตและสนับสนุนแหล่งจำหน่ายสินค้า
จึงทำให้เกิดการผลิต การพัฒนาสินค้าและการบริโภค
นอกจากนี้รัฐบาลยังพักหนี้เกษตรกรเป็นเวลา 3 ปี
เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ทำให้คนยากจนนำเงินที่ผลิตได้นั้นไปจับจ่ายใช้สอยเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทาง
รัฐบาลยังลดรายจ่ายของประชาชนด้วยโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
เพื่อเป็นหลักประกันสุขภาพให้กับประชาชนทุกคนที่นายกทักษิณถือว่าเป็นผู้มีบุญคุณกับประเทศเพราะเมื่อทุกคนจ่ายภาษีให้รัฐจึงควรได้รับการดูแลจากรัฐเช่นกัน
โครงการ 30 บาทดังกล่าวทำให้ประชาชนไม่ต้องพะวงกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหากเจ็บป่วย เพราะมีเพียง 30 บาทก็รักษาได้ทุกโรคจึงกล้าจับจ่ายใช้สอยจากเงินที่หามาได้อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ นายกทักษิณไม่เคยแจกเงินแต่ท่านแจกโอกาสให้กับประชาชนเพื่อให้ทุกคนใช้เป็นโอกาสหาเงินเพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งจึงสามารถใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนด จากนั้นในปีงบประมาณ 2548 และ 2549 รัฐบาลทักษิณได้จัดทำงบประมาณสมดุลได้เป็นครั้งแรก
ภายใต้สถานการณ์ที่ทั้งโลกประสบปัญหาเศรษฐกิจ รัฐบาลประยุทธ์ก็เหลือทางเดียวเช่นกันคือต้องกระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายใน โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือประชาชนต้องมีเงินที่จะจับจ่ายใช้สอยและที่มากไปกว่านั้นคือต้องมีความมั่นใจที่จะใช้เงินซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำและทีมเศรษฐกิจ พูดเหมือนง่ายแต่ทำโคตรยากครับ
วัฒนา เมืองสุข
12 สิงหาคม 2562
โครงการ 30 บาทดังกล่าวทำให้ประชาชนไม่ต้องพะวงกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลหากเจ็บป่วย เพราะมีเพียง 30 บาทก็รักษาได้ทุกโรคจึงกล้าจับจ่ายใช้สอยจากเงินที่หามาได้อันเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ นายกทักษิณไม่เคยแจกเงินแต่ท่านแจกโอกาสให้กับประชาชนเพื่อให้ทุกคนใช้เป็นโอกาสหาเงินเพื่อให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยทำให้เศรษฐกิจไทยมีความเข้มแข็งจึงสามารถใช้หนี้ไอเอ็มเอฟได้ก่อนกำหนด จากนั้นในปีงบประมาณ 2548 และ 2549 รัฐบาลทักษิณได้จัดทำงบประมาณสมดุลได้เป็นครั้งแรก
ภายใต้สถานการณ์ที่ทั้งโลกประสบปัญหาเศรษฐกิจ รัฐบาลประยุทธ์ก็เหลือทางเดียวเช่นกันคือต้องกระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายใน โดยมีปัจจัยที่สำคัญคือประชาชนต้องมีเงินที่จะจับจ่ายใช้สอยและที่มากไปกว่านั้นคือต้องมีความมั่นใจที่จะใช้เงินซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องให้ประชาชนมีความเชื่อมั่นในตัวผู้นำและทีมเศรษฐกิจ พูดเหมือนง่ายแต่ทำโคตรยากครับ
วัฒนา เมืองสุข
12 สิงหาคม 2562
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น