วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562
"หมวดเจี๊ยบ" ประเมินประชุมอาเซียน ให้รัฐบาลไทยสอบตก
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สอบตกและติด F ในฐานะประธานอาเซียน เพราะสหรัฐไม่ได้ให้ราคาประธานอาเซียน ที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ สหรัฐจึงลดระดับความสำคัญของผู้แทนที่ส่งมาร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้นำ 10 ชาติสมาชิกอาเซียนไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในการใช้เวทีอาเซียนซัมมิทเพื่อเจรจาปัญหาต่าง ๆ กับชาติมหาอำนาจ
ร.ท.หญิง สุณิสา ทิวากรดำรง รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา สอบตกและ ติด F ในฐานะ ประธานอาเซียน และล้มเหลวในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยในฐานะหัวหน้ารัฐบาล ทั้งนี้ ตัวชี้วัดความล้มเหลวของ พล.อ ประยุทธ์ ในฐานะประธานอาเซียน คือ ไม่สามารถเชิญผู้นำชาติมหาอำนาจที่เป็นคู่ค้าหรือคู่เจรจาสำคัญของประเทศสมาชิกอาเซียนมาร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 35 และการประชุมที่เกี่ยวข้องที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ได้ โดยถูกปฏิเสธคำเชิญจากทั้งผู้นำสหรัฐและแคนาดา โดยเฉพาะสหรัฐนั้น แม้จะส่งผู้แทนมาร่วมประชุม แต่ก็ไม่ใช่ผู้นำระดับสูง ต่างจากในอดีต ที่ประธานาธิบดีสหรัฐมักจะเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนด้วยตนเองเสมอ เช่น ในปี 2560 ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ก็เดินทางไปร่วมการประชุมอาเซียนด้วยตนเองที่ฟิลิปปินส์ หรือ เมื่อที่แล้ว คือ ปี 2561 แม้ทรัมป์จะไม่ได้ไป แต่ก็ส่ง ไมค์ เพนซ์ รองประธานาธิบดีสหรัฐ มาเป็นผู้แทน ในส่วนของอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ก็เข้าร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนทุกครั้ง ตั้งแต่ 2554- 2559 ยกเว้นเพียงปีเดียวคือ 2556 ที่มาไม่ได้เพราะเกิดเหตุ Government Shutdown ขึ้นที่สหรัฐ ซึ่งในสมัยรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ประธานาธิบดี โอบามา ก็มาเยือนไทยด้วย ระหว่างการเดินทางเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนที่กัมพูชา เมื่อปี 2555 ทั้งนี้ จะเห็นว่า ในการประชุมสุดยอดอาเซียครั้งนี้ สหรัฐไม่ได้ให้ราคาประธานอาเซียน ที่ชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็เลยลดระดับความสำคัญของผู้แทนที่ส่งมาร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ที่กรุงเทพฯ ทำให้ผู้น 10 ชาติสมาชิกอาเซียนไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในการใช้เวทีอาเซียนซัมมิทเพื่อเจรจาปัญหาต่าง ๆ กับชาติมหาอำนาจในเรื่องต่าง ๆ นอกจากนี้ รูปแบบการประชุมส่วนใหญ่ ก็ยังให้ความสำคัญกับการประชุมทวิภาคี โดยผู้นำแต่ละชาติต่างแยกย้ายไปเจรจาต่อรองผลประโยชน์ของชาติตน ในลักษณะทวิภาคี แต่ไม่ได้รวมตัวกันสร้างอำนาจต่อรองของทั้งภูมิภาคอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแบบในสหภาพยุโรป ทั้ง ๆ ที่ อาเซียนมีประชากรรวมกันถึง 650 ล้านคน แต่ พล.อ.ประยุทธ์ กลับไม่สามารถสร้างอำนาจต่อรองให้กลุ่มประเทศอาเซียนได้ ซึ่งสวนทางกับวิสัยทัศน์อาเซียน เรื่องความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามกรอบแนวคิด “ร่วมแรง ร่วมใจก้าวไกล ยั่งยืน” ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ ได้ประกาศไว้ในฐานะประธานอาเซียนเมื่อเดือน มิ.ย 61
ทั้งนี้ ตัวชี้วัดความสำเร็จของการเป็นประธานอาเซียน ไม่ได้อยู่ที่ความสามารถในการจัดสถานที่ประชุมหรือแค่จัดงานเลี้ยงที่มีอาหาร ดี และดนตรีเพราะเท่านั้น แต่คนเป็นประธานอาเซียนต้องแสดงศักยภาพในการแสวงหาความร่วมมือกับชาติมหาอำนาจและสร้างอำนาจต่อรองของภูมิภาคอาเซียนทั้งกลุ่มด้วย แต่การที่แคนาดาและสหรัฐไม่ส่งผู้นำระดับสูงมาร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียนที่มี พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน ได้สะท้อนความล้มเหลวของ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะประธานอาเซียน ทั้งยังสะท้อนความล้มเหลวของรัฐบาลประยุทธ์ ในการบริหารนโยบายด้านกาาต่างประเทศ ที่ทำให้ไทยสูญเสียสถานะความสำคัญในภูมิภาค ทั้ง ๆ ที่ ในอดีต ประเทศไทยมีอำนาจต่อรองสูง และยืนอยู่แถวหน้าในอาเซียนในฐานะ ชาติที่เป็นตัวกลางในการเจรจาไกล่เกลี่ยปนะเป็นสำคัญต่างๆ ในภูมิภาคมาตลอด ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จึงสอบตกติด F ในการเป็นประธานอาเซียนและยังเป็นผู้นำรัฐบาลไทยที่ล้มเหลวในการดำเนินนโยบายต่างประเทศทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์บนเวทีโลก และสมควรถูกบันทึกเกรด F นี้ไว้ในสมุดพกแห่งความล้มเหลวอีกข้อหนึ่ง ของ พล.อ.ประยุทธ์.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น