วันพุธที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2563

"เพื่อไทย" ร้องรัฐ แสดงมาตรการลดผลกระทบไวรัสโควิต-19


ที่พรรคเพื่อไทย นพ.ทศพร เสรีรักษ์ ประธานศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและติดตามการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไวรัสโควิต-19 พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วย นพ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ ส.ส.มหาสารคาม ในฐานะเลขานุการศูนย์โควิต-19 พรรคเพื่อไทย ร่วมแถลงผลการประชุม


โดย นพ.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและติดตามการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคไวรัสโควิต-19 พรรคเพื่อไทย ได้ติดตามการแถลงของนายกรัฐมนตรีและมติคณะรัฐมนตรีที่มีประกาศ ตามมาระหว่างวันที่ 16-17 มีนาคม 2563 ด้วยความสนใจ เพราะเราตั้งใจจะสนับสนุนมาตรการการป้องกัน และควบคุมโรคในบทบาทหน่วยงานนอกภาครัฐ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนและติดตามการแก้ไขปัญหาการระบาด ของโรคไวรัสโวิต-19 พรรคเพื่อไทย ยังพบประเด็นที่ควรปรับปรุงเพิ่มเติม จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลมีการดําเนิน การเพิ่มเติมในประเด็นดังต่อไปนี้

1. รัฐควรแสดงแผนฯ และมาตราการในการลดการติดเชื้อและการควบคุม โรค ข้อเรียกร้องของเราที่มีต่อรัฐบาลในด้านการลดการติดเชื้อและควบคุมโรค คือ รัฐควรประกาศเปิด “ปฏิบัติการค้นหาผู้ติดเชื้อ COVID-19" เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงที่ต้องการการคัดกรองตามหลักระบาดวิทยา ระงับการเพิ่มผู้ติดเชื้อรายใหม่เข้าประเทศ โดยสามารถทําได้ 2 วิธีคือ ประกาศการงตรับผู้เดินทางจากต่าง ประเทศ หรือ การประกาศกักตัวนักท่องเที่ยวประเทศกลุ่มเสียงตามระยะเวลาการฟักตัวของโรคคือ 14 วัน โดยต้องเป็นการกักตัวที่เข้มงวด จํากัดการไปสัมผัสบุคคลอื่นในประเทศอย่างแท้จริง ไม่ใช่ให้กักตัวเอง แสดงการเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ สถานพยาบาลและเวชภัณฑ์ ที่เป็นรูปธรรม โดยควรจัดตั้งคณะ กรรมการบริหารเครื่องมือและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ในสภาวะฉุกเฉิน โดยให้มีอํานาจในการพิจารณาจัดหา สารวจความต้องการและจัดสรรให้เหมาะสมครอบคลุมทั้งภาครัฐและเอกชน และต้องเร่งฝึกอบรมบุคลากร ทางการแพทย์ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศให้มีความพร้อมในการให้บริการทางการแพทย์เฉพาะด้าน


นอกจากนี้ ขอเสนอให้ระงับการกระจายของเชื้ออย่างเข้มข้นในเขตพื้นที่ที่มีการตรวจพบเชื้อ คือ การระงับทุก กิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มทุกประเภท ยกเว้น สถานที่ที่บริการด้านความจําเป็นพื้นฐาน เช่น ร้านอาหารประเภท ส่งถึงบ้าน ร้านขายยา ร้านขายของชําและของใช้สําหรับเด็ก ตามระยะฟักตัวของโรค และเร่งทําความสะอาด ฉีดยาฆ่าเชื้อ ในทุกส่วนพื้นที่สาธารณะ ทําความสะอาดธนบัตรและอื่นๆที่จําเป็น และขอความร่วมมือให้ ประชาชนจํากัดการเคลื่อนที่ของตัวเอง ขณะเดียวกัน รัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือบุคคลที่กักตัวว่าจะสามารถ ใช้ชีวิตได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ยากไร้ในสังคม


2. รัฐต้องแสดงแผนฯ และมาตรการลดผลกระทบความสูญเสียของโรค ซึ่งเรา ต้องการเห็นแผนฯและมาตรการที่แสดงความพร้อมของการลดการสูญเสียชีวิต โดยเราขอเสนอมาตรการต่อ รัฐบาล ให้รัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉิน มาตรการนี้รวมถึงการแยก สถานบริการทางการแพทย์ (ตึกผู้ป่วย) ปกติและการแยกสถานบริการรักษาโควต-19 เป็นการเฉพาะออกจาก กัน มาตรการดูแลกลุ่มบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานทั้งในด้านการป้องกัน ควบคุมและรักษาพยาบาลทั้ง ในด้านสุขภาพและด้านสวัสดิ์การต้องชัดเจน


ด้านนพ.ทศพร กล่าวว่า ตนได้รับโทรศัพท์ทางไกลจากคนไทยที่ไปใช้แรงงานในประเทศเกาหลีใต้ว่า ต้องการเดินทางกลับไทยโดยผ่านการกักกันโรคแล้ว แต่ก่อนจะเดินทางกลับ ทางการเกาหลีแจ้งว่า ทางการ ไทยไม่อนุญาตให้เดินทางกลับเข้าประเทศ ขณะนี้จึงถูกกักตัวอยู่ในสถานีตํารวจเมืองซองจู ซึ่งตนจะได้ไป ติดตามเรื่องนี้ต่อที่กระทรวงการต่างประเทศ เพราะคนไทยทุกคนคือคนไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น