ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ให้ความเห็นถึงวิธีการเยียวยาที่เหมาะสมและรวดเร็ว คือ "มีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากันทุกคน"
1. รัฐบาลไทยใช้เงินจำนวนมากถึง 1.9 ล้านล้านบาท คิดเป็น 11.4% ของผลผลิตของชาติ (GDP) เพื่อแก้วิกฤตโรคระบาดโควิด19 โดยเป็นเงินกู้ถึง 1 ล้านล้านบาท ประชาชนไทยทุกคน จะร่วมกันเป็นหนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องเก็บภาษีในอนาคตมาใช้คืน
2. รัฐบาลมีเป้าหมายกู้เงิน เพื่อมาชดเชยเยียวยาประชาชน 600,000 ล้านบาท และฟื้นฟูเศรษฐกิจ 400,000 ล้านบาท
3. วิธีการเยียวยาของรัฐบาล มีเงื่อนไขยุ่งยากมาก ชดเชยประชาชนแต่ละคนไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน เช่น การให้ประชาชนที่ค้าขายทำงานเอง และแรงงานที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม คนละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน มีประชาชนลงทะเบียนกว่า 28 ล้านคน เดิมรัฐบาลจะให้ 9 ล้านคน แต่หลังๆ มานี้ รัฐบาลได้เพิ่มผู้มีสิทธิ เป็น14 ล้านคน แล้วก็เพิ่มเป็น 16 ล้านคน เนื่องจากเงื่อนไขมาก จึงเกิดความล่าช้าไม่ทันกาล ในขณะที่ประชาชนไม่มีรายได้ไม่มีกิน
4. การชดเชยแรงงาน ในระบบประกันสังคมก็ยิ่งยุ่งยากใหญ่ ล่าช้าและไม่เท่าเทียม
5. การชดเชยเกษตรกร กลับชดเชยให้เป็นต่อครอบครัว ซึ่งลักลั่นกับกรณีเยียวยา
6. กรณีนี้ เหตุเกิดจากวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 ทั่วโลก ประชาชนไทยทุกคนได้รับผลกระทบ รัฐบาลจึงควรชดเชยทุกคน “เท่ากัน” ทันที ไม่ยุ่งยาก ไม่ล่าช้า ไม่มีเงื่อนไขมาก การให้เงินชดเชยไม่เท่ากันไม่เป็นธรรม
"มีบัตรประชาชนไทย ควรได้เงินชดเชยเท่ากันทุกคน"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น