วันอังคารที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

"พรหมินทร์" แนะรัฐปรับตัว พลิกบทบาทกู้เศรษฐกิจ NEW NORMAL

นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรองนายกรัฐมนตรี , อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โพสต์ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้


วิกฤติการระบาดของโรค COVID-19 ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่สร้างความหวั่นวิตกการติดโรคระบาดติดต่อง่าย และมีภัยถึงชีวิตเท่านั้น แต่ทำให้เศรษฐกิจโลกสะดุดหยุดชะงักไปด้วยทั้งโลก สังคมต้องปรับตัว เกิด SOCIAL DISRUPTION มีกติกาใหม่ เรียกว่า NEW NORMAL เกิดขึ้น แต่ในอีกด้านหนึ่งของวิกฤติ ก็สร้างโอกาสใหม่ไปด้วย ถ้าผู้ใด ประเทศใด นำพาได้ดี ก็จะได้รับประโยชน์จากวิกฤตินี้ชดเชยความเสียหายได้บ้าง

รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมา ตั้งแต่ 26 มีนาคม 2563 จนถึงวันนี้ กว่า 6 อาทิตย์ แล้ว ทั้งยังมีพระราชกำหนดกู้เงิน ไว้ 1.9 ล้านล้านบาท เป็นกรอบไม่มีรายละเอียด ซึ่งน่าจะใช้เพื่อเหตุผลหลัก 4 ประการ 1) เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อควบคุม ป้องกัน และเตรียมพร้อมรักษาโรคโควิด-19 2) เยียวยาผ่อนปรนทุกข์ของประชาชนที่จำเป็น 3) ฟื้นฟู พยุงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ 4) เตรียมพร้อมปรับตัวเพื่ออนาคต

ที่ผ่านมา ระยะ 1 เดือนแรก รัฐบาลยังดำเนินการ แก้ปัญหาการแพร่ระบาดโรค ซึ่งประสบผลดีมาจนน่าจะพ้นวิกฤติ ควบคุมโรคได้มาเกือบ 2 สัปดาห์แล้ว รัฐบาลควรปรับพลิกบทบาทใหม่เป็นการกอบกู้เศรษฐกิจได้แล้ว

ขออนุญาตคิดดังๆ เพียงบางประเด็น แม้ไม่ครอบคลุม ดังนี้

1. “โอกาสจากการที่ไทยควบคุมการติดโรคระยะแรก ‘ได้ดีเยี่ยม’” ผ่านวิกฤติการติดต่อแพร่โรคไปได้ดี ต้องขอขอบคุณทีมงานแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข และระบบบริการสาธารณสุขที่มีรากหยั่งถึงหมู่บ้านของไทย ที่เป็นแนวหน้าของสงครามสู้ COVID-19 ในรอบนี้ และที่สำคัญความร่วมไม้ร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลอย่างเข้มงวดร่วมกันต้องควบคุมโรคของประชาชนชาวไทย นี่เป็น “จุดแข็ง” ที่จะสร้างเป็นโอกาสที่ไม่อาจมองข้ามได้

2. “ไทยได้รับ Social Vaccination แล้ว” พฤติกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้หลีกเลี่ยงสัมผัสพาหะแพร่โรค เช่น การสวมหน้ากาก , physical distancing , Work from home , และมาตรการต่างๆ ที่หน่วยงานและประชาชน ริเริ่ม และเริ่มเคยชิน กลายเป็น New Normal ที่แท้คือ “Social Vaccination” ไปแล้ว ไม่ต้องรอให้ฉีด Vaccine ที่ยังผลิตไม่ได้ในเร็ววัน แต่พฤติกรรมเหล่านี้คือปัจจัยสำคัญที่สุดในการป้องกันโรค ที่หลายประเทศที่ยังระบาดอยู่ไม่สามารถดำเนินการได้ผลเช่นไทย นี่เป็น ‘จุดแข็ง’ ที่สร้างโอกาสอีกได้เช่นกัน

3. “lock down ต้องเพื่อการเปิดประเทศใหม่อย่างปลอดภัย” การ lock down ประเทศเป็นไปเพื่อการจำกัดบริเวณ เขตการติดเชื้อให้ชัดเจน ไม่รับเชื้อใหม่นอกเขต ตรวจค้นผู้ติดเชื้อ กักเพื่อดูอาการ , จำกัดการแพร่เชื้อ และรักษารายที่จำเป็น เนื่องจากโรคมีระยะฟักตัว 14 วัน การ lock down จึงดำเนินการใน 21-30 วัน เพื่อปรับมาตรการต่างๆ รองรับการแพร่ระบาด และเตรียมตัว เพื่อการเปิดสังคมใหม่อย่างปลอดภัย แน่นอนว่าโรคนี้ยังจะดำรงอยู่กับเราเป็นปีๆ กว่าจะมี Vaccine และการให้ vaccine ป้องกันการระบาดจะทั่วถึง แต่การดำรงชีวิต หรือเศรษฐกิจต้องดำเนินต่อไป การเปิดสังคมกลับคืนด้วยมาตรการสร้างความปลอดภัยทีละขั้นอย่างไม่ชักช้า ต้องรีบดำเนินการ ก่อนที่คนไทยต้องทุกข์ยากถึงอดตายกันมากกว่านี้ เพราะจากตัวเลขการวิจัยของธนาคารไทยพาณิชย์ (SCBEIC) ทรัพย์สินของคนไทย 33.9% พอดำรงชีวิตไม่เกิน 1 เดือนเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น