วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

"ทวี" หนุนสร้างพลเมืองตื่นรู้ ส่งเสริมประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง

พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และ ส.ส.พรรคประชาชาติ เดินทางไปร่วมงานสัมมนา เรื่อง "พลเมืองตื่นรู้ (สมาชิก) รัฐสภาตื่นตัว : เสียงประชาชนกับการเป็นตัวแทนของรัฐสภา" จัดโดย สำนักส่งเสริมวิชาการรัฐสภา สถาบันพระปกเกล้า ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัล ปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ ทั้งนี้การจัดงานดังกล่าวเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา ได้ผลักดันประชาชนให้เป็น "พลเมืองตื่นรู้" (Active Citizen) ซึ่งเป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม กระบวนการสร้างพลเมืองตื่นรู้ให้ประสบความสำเร็จ จำเป็นจะต้องให้รัฐสภาและสมาชิกรัฐสภาต้องเข้าใจความเป็นพลเมืองตื่นรู้ของประชาชน เพื่อหาวิธีตอบสนองและส่งเสริมให้พลเมืองสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ ภายในงานยังมีผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ผศ.ดร.วรรณภา ติระสังขะ นายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ และ น.ส.สฤณี อาชวานันทกุล ดำเนินรายการโดย นางสาวศรัณยู หมั้นทรัพย์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสัมมนาในประเด็น "ความเข้าใจในพลเมืองตื่นรู้ กับบทบาทหน้าที่ของรัฐสภาในการเป็นตัวแทนของประชาชน" นั้น พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และ ส.ส.พรรคประชาชาติ ได้แสดงความเห็น ระบุว่า "รัฐสภามีอำนาจในการใช้อำนาจนิติบัญญัติการตรากฎหมาย อำนาจในการตรวจสอบควบคุมการบริหารงานรัฐบาล มีอำนาจอนุมัติ ตรวจสอบมีการขอความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เช่น อนุมัติให้เป็นนายกรัฐมนตรี หรืออนุมัติองค์กรอิสระทีให้อำนาจวุฒิสภา" 


วันนี้พลเมืองตื่นรู้อย่างมาก แต่ในส่วนรัฐสภาคงต้องพิจารณาตื่นรู้เท่ากับพลเมืองหรือไม่ รัฐสภาได้ทำเพื่อประชาชนอย่างไร ปัญหาที่เห็นอย่างน้อย  2 เรื่อง เรื่องแรก กรณีการบัญญัติกฎหมาย ถือว่ายังไม่ตื่นรู้เท่าที่ควร คือ พบว่ากฏหมายที่เป็นของรัฐบาลจะแทรงคิวเข้าไปเรื่องด่วน ขณะที่กฎหมายที่ประชาชนรวมตัวกันเข้าชื่อจะบรรจุวาระท้ายๆ เมื่อปีที่แล้วประชาชนลงชื่อเกิน 1 หมื่นคนเสนอเป็น พ.ร.บ. เพื่อยกเลิกมรดก คสช. ตรวจสอบตอนนี้รางกฏหมายดังกล่าวประมาณ อันดับเกือบ 100 ซึ่งสิ้นสุดรัฐสภาชุดนี้ก็ไม่ทราบว่าจะได้พิจารณาหรือไม่ เนื่องจากระเบียบการประชุมถ้าเรื่องที่มีการศึกษาเสร็จต้องนำมาแทรกมาเป็นเรื่องก่อนเรื่องด่วน จะทำให้กฏหมายที่เสนอโดยประชาชนต้องเลื่อนออก เรื่องที่ 2 เรื่องความขัดแย้งจึงเกิดความประชาชนข้างนอกสภาตื่นตัวมากในการแก้รัฐธรรมนูญ แต่รัฐสภาที่เป็นระบบ ลูกผสม คือสส.ส.มาจากการเลือกตั้ง ส่วน ส.ว. ที่มาการแต่งตั้ง จึงทำให้คิดว่ารัฐสภาจะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งที่กฏหมายที่เสนอโดยประชาชนเข้าชื่อยังไม่ได้รับการพิจารณา จึงเกิดความขัดแย้ง  เห็นว่ารัฐสภาต้องตื่นตัวเพื่อบัญญัติกฎหมายเพื่อปวงชน กฏหมายต้องมีเป้าประสงค์เดียวเพื่อความยุติธรรม แม้ระบบรัฐสภาจะใช้เสียงข้างมากเป็นฝ่ายชนะ แต่ต้องสมาชิกควรอภิปรายเหตุผลให้เป็นประโยชน์ต่อพลเมืองได้รับรู้ ระบบกฏหมายไทยวันนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามีอิทธิพลมากถูกรัฐบาลใช้ในเรื่องการตรวจสอบเพื่อออกกฏหมาย ดูเหมือนมากกว่ารัฐสภาที่เป็นตัวแทนของประชาชน กฎหมายที่บัญญัติออกมาต้องมีเป้าประสงค์เดียวก็คือประโยชน์ของปวงชน และความยุติธรรมทีถ้ากฏหมายไม่ได้ออกเพื่อประโยชน์ของปวงชนได้เคยพูดถึงความหมายของ  “อาชญากร” ว่าไม่ได้หมายความเพียงผู้ที่กฏหมายบัญญัติไว้เป็นความผิดแต่ให้หมายรวมถึงกฎหมายแล้วผู้บังคับใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมด้วย ถ้ากฎหมายออกมาเพื่อต้องการให้คนกลุ่มหนึ่งมีความสุข คนอีกกลุ่มนึงต้องลำบาก แล้วการตีความกฎหมายก็กลายเป็นสมบัติส่วนตัว ซึ่งอาชญากรที่ร้ายที่สุดคือผู้ใช้จ้างวานให้ออกกฏหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนั้นผมคิดว่าวันนี้สภาก็ตื่นรู้น้อยกว่าพลเมือง รวมทั้งสถาบันพระปกเก้าบางช่วงเวลามีภาพที่ขาดความชัดเจนเพราะสถาบันพระปกเก้าต้องขึ้นกับว่าสภาที่รัฐสภาต้องอยู่ช่วงยึดอำนาจสลับเป็นเวลานานที่บ้านเมืองไม่เป็นประชาธิปไตย 

พันตำรวจเอกทวี กล่าวอีกว่า "วันนี้สถาบันพระปกเกล้าได้จัดเสาวนาเรื่องสำคัญที่มีประโยชน์ทำสิ่งที่ดีกว่านี้ผมคิดว่าข้อเสนอของท่านอาจารย์ที่เสวนา ผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่านนำเสนอ ก็ถ้ารัฐสภาต้องเป็นสภาประชาชน รัฐสภาต้องรับฟังเสียงประชาชนข้างนอกด้วย สังคมได้พัฒนาเป็นสังคมความรู้ไม่คำนึงถึงตำแหน่ง ยศจะมีคุณค่าไม่มาก เรื่องของความรู้จากประชาชนที่เสนอโดยช่องทางผู้นิรนาม ที่มีการสื่อสารในแนวราบ จะขจัดไม่ความรู้สึกไม่ปลอดภัย ความกังวลในสถานะ ยศ ตำแหน่ง ได้โดยช่องทางการสื่อสารทางเทคโนโลยีที่เป็นปัจจัยสำคัญของพลเมืองตื่นรู้ ท่านวิทยาได้เสนอความเห็นและมุมมองที่มีประโยชน์โดยเฉพาะการห่วงใยปัญหาความขัดแย้งและแนวทางแก้ปัญหา จึงขอให้กำลังใจทุกท่านครับ ขอบคุณครับ"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น