“ทวี สอดส่อง” ส.ส.ประชาชาติ ระบุแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำได้ด้วยการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ยกเลิกรัฐรวมศูนย์
การประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) และเลขาธิการพรรคประชาชาติ ได้อภิปรายในญัตติเสนอตั้งคณะกรรมาธิการท้องถิ่น
พันตำรวจเอก ทวี ได้อภิปรายว่า พยายามหาทางออกในการแก้ปัญหาของประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ และอำนาจที่คนไทยเหลื่อมล้ำมากที่สุด พบว่าต้องยกเลิก”รัฐรวมศูนย์” และใช้”ชุมชนเป็นศูนย์กลาง” เพราะคนที่จะรู้จักชุมชนและท้องถิ่นดีที่สุดคือคนในท้องถิ่น แต่ปัญหาที่เป็นรากเหง้าใหญ่จริงๆหลังการรัฐประหารได้ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นน้อยมาก สร้างรัฐราชการ อุ้มชูทุนนิยม การกระจายอำนาจน้อยจนกระทั่งไม่ให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น และเพิ่งจะเริ่มมีการเลือกตั้งท้องถิ่น และรูปธรรมตัดโอกาสการกระจายอำนาจคือการเขียนรัฐธรรมนูญที่ถือว่าเป็นการดองหรือกำจัดอำนาจท้องถิ่น
พันตำรวจเอก ทวี กล่าวอีกว่า หากดูรัฐธรรมนูญมาตรา 162 เขียนว่ารัฐบาลทุกรัฐบาลมีนโยบายบริหารประเทศต้องอยู่ภายใต้หน้าที่ของรัฐ แนวนโยบายของรัฐ และยุทธศาสตร์ชาติ จะเห็นว่าทั้ง 3 ข้อที่ยังคับไว้ไม่เคยใส่ใจและไม่เห็นคุณค่าของการกระจายอำนาจเลย
รัฐบาลที่ดีที่สุดคือรัฐบาลที่เคารพและฟังเสียงประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยโดยการกระจายอำนาจ งบประมาณ โอกาส ในการปกครองการบริหารให้ท้องถิ่น แต่หากรัฐบาลใดเข้าไปดำเนินการจะถูกรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 จัดการทันที เพราะเขียนล็อคไว้ไม่ให้ทำ รัฐธรรมนูญหมวด 14 เรื่ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องยอมรับว่าเราได้ถอยหลังไปมาก จากรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่เป็นอำนาจนิยม จึงถือว่าเป็นรากเหง้าของปัญหาความเหลื่อล้ำในประเทศไทย
พันตำรวจเอก ทวี เห็นด้วยกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่อยากจะตั้งกรรมาธิการสามัญชุดนี้ แต่เรามีกรรมาธิการการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปกครองรูปแบบพิเศษอยู่แล้ว ผมคิดว่ามันไม่ได้อยู่ที่การตั้งคณะกรรมาธิการสามัญหรือวิสามัญ แต่ทางออกที่ดีที่สุดคือการคืนอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชน ถ้าจะให้คอรัปชั่นน้อยที่สุด ก็คืนให้กับครอบครัว ถ้าคืนให้ครอบครัวไม่ได้ ก็คืนให้ชุมชนท้องถิ่น คือรูปแบบการปกครองท้องถิ่น
ต้องยอมรับว่ามีความซ้ำซ้อนในงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น และในกระบวนการทำงานต้องอาศัยท้องถิ่นแต่ถ้องถิ่นเหมือนเป็นผู้รับใช้แรงงาน ไม่ได้คิดและควบคุมการบริหารจัดการ แม้แต่ในคณะกรรมาธิการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ ใช้เวลาส่วนใหญ่พูดแต่เรื่องการกระจายอำนาจ ถามว่าเรามีกรมทางหลวงแล้วมีกรมทางหลวงชนบทอีกหน่วยหนึ่ง ทั้งที่มันอยู่ในท้องถิ่นอยู่แล้ว ทำไมไม่เอางบประมาณและอำนาจกรมทางหลวงชนบทให้ท้องถิ่นทำ
ในกรณีการจัดการเรื่องน้ำ ในการการดำเนินแหล่งน้ำจากกระทรวง กรมแล้วถ่ายโอนน้ให้ท้องถิ่น เช่นการขุดบ่อน้ำบาดาล บ่อละ 10-14 ล้านบาท หรือย่อขนาดใช้เงินน้อยกว่าเมื่อส่วนกลางสร้างเสร็จก็ถ่ายโอนให้ท้องถิ่นทั่วประเท ผมได้ตรวจสอบส่งคนไปสำรวจมีทั้งบ่อเล็กบ่อมหญ่กว่า 1 พันแห่ง ส่วนใหญ่ พบว่าใช้งานไม่ได้เป็นปัญหากับท้องถิ่นเกือบหมดเลย นี่คือการใช้งบประมาณฟุ่มเฟือยแล้วส่งให้ท้องถิ่นแต่ท้องถิ่นใช้ไม่ได้ เพราะไม่ได้ต้องการประจานงบประมาณสักแต่จะทำ ทำแล้วใช้งานไม่ได้ นี่คือเรื่องอันตรายมาก ท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ดี ทำไมไม่ให้เขาจัดการเอง
พันตำรวจเอก ทวี กล่าวทิ้งท้ายว่า สำหรับคณะกรรมาธิการวิสามัญ อยากจะขออนุญาต ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรแต่ละพรรคว่าเราสามารถนำบุคคลภายนอกและคนที่รู้เรื่องท้องถิ่นอย่างดีเป็นกรรมาธิการวิสามัญ
มีข้อมูลการจัดงบประมาณที่มีความเจ็บปวดเมื่อเทียบกับงบประมาณท้องถิ่น อบต จำนวน 7 พันแห่งเศษ มีงบประมาณประจำปีตั้งแต่ 20ถึง90 ล้านบาทเป็นส่วนใหญ่ แต่เนื่องจากมีความคิดรัฐบาลสร้างรัฐรวมศูนย์ พบว่าสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้งบประมาณ 500 ล้านบาทเศษ แต่งบประมาณประชุมของคณะกรรมการกฤษฎีกามากกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งมากกว่า อบต.เกือบทั้งประเทศเสียอีก แสดงให้เห็นว่าวันนี้รัฐบาลไม่เคยใส่ใจประชาชน และองค์กรท้องถิ่น มีการบริหารแบบรัฐรวมศูนย์ ด้อยคุณค่าประชาชนนั่นคือไม่ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและให้อำนาจท้องถิ่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น