วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564

มติฝ่ายค้านยื่น ป.ป.ช. สอบทุจริตประยุทธ์-ครม.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล นายพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์ รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ ประธานยุทธศาสตร์พรรคเพื่อชาติ นายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย และ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว พรรคเพื่อไทย ร่วมประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน และแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนร่วมกัน โดยระบุว่า หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พรรคร่วมฝ่ายค้านได้ลงนามเพื่อยื่นร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เอาผิดนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยจะเดินทางไปยื่นต่อ ป.ป.ช. วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม เวลา 10.00 น. จะมีการยื่นเอาผิด 4 ชุด ชุดแรก เป็น ครม.ทั้งคณะ ชุดที่ 2 นายกรัฐมนตรี ชุดที่ 3 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ชุดที่ 4 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในส่วนของประเด็นที่จะยื่นนั้น เกี่ยวกับการบริหารจัดการวัคซีนทั้งหมด 3 เรื่อง เช่น การไม่เข้าโครงการโคแว็กซ์, การผูกขาดเอื้อประโยชน์วัคซีนแอสตราเซเนก้า, การทุจริตจัดซื้อวัคซีนซิโนแวค, ทุจริตการจัดซื้อชุดตรวจ ATK, การบริหารจัดการวัคซีนที่ผิดพลาดไร้ประสิทธิภาพ, จัดซื้อวัคซีนที่ไม่มีประสิทธิภาพให้คนไทย และอีกเรื่องที่เกี่ยวกับการออกมติ ครม.ที่ขัดต่อกฎหมาย โดยมีการเอื้อประโยชน์ให้เกิดการทุจริตสต๊อกยางพารา ส่งผลให้เกิดการขายในราคาที่ต่ำกว่าปกติ เอื้อเอกชนรายเดียว ผิดกฎหมายการยางเรื่องการรักษาเสถียรภาพ ทำราคายางลดต่ำเพราะมีการทุ่มราคา

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สื่อมวลชนสอบถาม พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ในประเด็นว่า รัฐธรรมนูญกำหนด “นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกิน 8 ปีมิได้” หากเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯในการเลือกตั้งครั้งหน้านั้น มีความเห็นอย่างไร?

พ.ต.อ.ทวี ตอบว่า ผมมองว่ากฎหมายบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจนแล้ว คือ มาตรา 158 วรรค4 "นายกรัฐมนตรีจะดํารงตําแหน่งรวมกันแล้วเกินแปดปีมิได้ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดํารงตําแหน่งติดต่อกันหรือไม่… " และ บทเฉพาะกาล มาตรา 264 “ให้คณะรัฐมนตรีที่บริหารราชการแผ่นดินอยู่ในวันก่อนวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ เป็นคณะรัฐมนตรีตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้..”

ไม่ต้องให้ใครไปขยายความเกินถ้อยคำของรัฐธรรมนูญที่ชัดเจนไม่แอบแฝง และวันนี้ประชาชนตื่นรู้ว่าเป็นนายกรัฐมนตรี 7 ปี ไม่สามารถแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองได้ บ้านเมืองเราบอบช้ำมามากแล้ว บริหารประเทศมีแต่ความเหลื่อมล้ำ มีแต่กู้เงินเป็นหนี้สาธารณะเพิ่มตลอดและนำไปใช้กระจุกตัว กับเรื่องในระยะสั้น ไม่เกิดประโยชน์ประชาชนและประเทศชาติในส่วนรวม  ไม่มีอนาคตจะใช้หนี้ได้เมื่อไร มีปัญหาสังคมมากมาย รัฐธรรมนูญบัญญัติว่าท่านเป็นนายกรัฐมนตรีเกิน 8 ปี ไม่ได้ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้นำที่ประชาชนเลือกจะดีกว่าครับ


วันอังคารที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2564

"วัฒนรักษ์" แนะรัฐ เร่งแก้ปัญหาน้ำท่วม

ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ อำนรรฆสรเดช ประธานคณะกรรมการนโยบายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และกรรมการกิจการพิเศษ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า จากอิทธิพลของพายุ “เตี้ยนหมู่” ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักมากในพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ซึ่งอันตรายต่อการเดินเรือ และหลายจังหวัดต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ซึ่งทางหลวงไม่สามารถสัญจรได้แล้วถึง 34 แห่ง สร้างความยากลำบากให้กับคนไทยเป็นจำนวนมาก  แถมยังส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยว ทั้ง ๆ ที่รัฐบาลพึ่งเปิดให้ท่องเที่ยว ซึ่งหากรัฐบาลยังไม่มียุทธวิธีในการแก้ไขปัญหาน้ำอย่างจริงจังและเร่งด่วน ก็จะยิ่งทำลายเศรษฐกิจไทย ซ้ำเติมจากเดิมที่แย่มากอยู่แล้ว ให้ยิ่งแย่หนักเพิ่มขึ้นไปอีก และจากการที่เราดูอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นั้นล้วนแต่มีปริมาณน้ำที่มากกว่า หรือเท่ากับร้อยละ 80 ของปริมาณความจุของอ่างฯ เช่น แม่มอก ลำพระเพลิง ขุนด่านปราการชล มูลบน ประแสร์ หนองปลาไหล และนฤบดินทรจินดา และยังไม่เห็นว่ารัฐบาลจะออกนโยบายใดที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างชัดเจน ตลอดระยะเวลา 7 ปี ที่เศรษฐกิจไทยทรุดหนักที่สุดในรอบ 20 ปี ประชาชนตกงาน ขาดรายได้ แถมต้องมาเจอกับปัญหาน้ำท่วมอีก ซึ่งต้นเหตุนั้นเกิดจากความไม่พร้อม ขาดความเข้าใจ และทิ้งพี่น้องประชาชนคนไทยให้แก้ไขปัญหากันเอาเองหรือไม่อย่างไร แต่สิ่งเดียวที่ประชาชนเห็นในตอนนี้มีเพียงการแย่งกันลงพื้นที่น้ำท่วมของฝ่ายรัฐบาลเพียงเท่านั้น

ร.ต.อ.วัฒนรักษ์ กล่าวอีกว่า พรรคพลังประชารัฐ ควรเลิกเล่นเกมส์การเมือง ชิงดีชิงเด่น แล้วหันมาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งอย่างจริงจัง พรรคเพื่อไทย จึงขอเสนอนโยบายการแก้ไขปัญหาดังนี้

1. จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยไม่ต้องกู้เงิน อาทิเช่น การสร้างเขื่อนและประตูเพื่อกันน้ำทะเลหนุนและจัดทำประตูเพื่อระบายน้ำลงทะเลรอบกรุงเทพฯ/สมุทรปราการ พร้อมจัดทำนโยบายเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ รวมถึงการสร้างพื้นที่แก้มลิงตามแนวพระราชดำริ ในแนวบริเวณที่ลุ่มของแม่น้ำสายหลักทั่วประเทศ รวมถึงแม่น้ำโขงด้วยเพื่อเก็บกักน้ำไว้ในเวลาที่น้ำมามากเรียกว่าเบรคน้ำ สำหรับเก็บไว้ใช้ในยามที่น้ำมีน้อย

2. ขุดเขื่อนและแม่น้ำสายหลักที่ไม่ไกลกันมากให้เข้าหากันเหมือนดังที่เคยทำมาแล้ว โดยเชื่อมแม่น้ำยมเข้ากับแม่น้ำน่าน ซึ่งจะทำให้สามารถผันน้ำได้ตามปริมาณของน้ำได้

3. สนับสนุนการสร้างป่าชุมชน 1 หมู่บ้าน 1 ป่าชุมชน เพื่อทำให้เกิดพื้นที่ชุ่มน้ำมากขึ้น

4. ฟื้นฟูป่าต้นน้ำ และแนะนำชาวบ้านในการปลูกหญ้าแฝกเพื่อกันดิน (Soil Erosion) ตามแนวทางพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9

ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้ง ทำให้ประเทศไทยเกิดความเสียหายโดยตลอดมาเป็นระยะเวลาช้านาน และหลายครั้งที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรนำนโยบายข้างต้นทั้งหมดไปใช้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ ได้อย่างยั่งยืน เพราะการทำเพียงแค่บางข้อนั้นจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ออกมา ยอมรับว่า ไม่สามารถแก้น้ำท่วมได้ 100% คงยากที่ประชาชนจะเชื่อว่าสามารถทำได้ถึงขนาดนั้น เพราะเพียงแค่รัฐบาลสามารถที่จะแก้ไขปัญหานี้ได้หนึ่งส่วนสี่ของปัญหา ก็ถือว่าดีแล้วในสายตาของประชาชน

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564

"เผ่าภูมิ" ค้านรัฐขยายเพดานหนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และ กมธ. ตรวจสอบ พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาทฯ แถลงข่าวความคืบหน้า พ.ร.ก. เงินกู้ 5 แสนล้านบาทและการขยับเพดานหนี้สาธารณะเป็น 70% ว่า

พ.ร.ก. กู้เงิน 5 แสนล้านบาท ทั้งช้า ทั้งชุ่ย 

1. “ช้า” : ไทยเจอการระบาดหนักทั้งระลอก 3 และ 4 เจอการล็อคดาวน์ที่เข้มข้น เจอเคอร์ฟิว เจอธุรกิจล้มละลาย แต่การใช้เงินกู้นี้เพื่อประคองเศรษฐกิจกลับเหมือนอยู่คนละโลก เชื่องช้า อืดอาด เสมือนใช้จ่ายงบประมาณปกติ เม็ดเงินที่ลงสู่ระบบนั้นน้อยนิด ใน 5 แสนล้านนั้น เพียง 5 หมื่นกว่าล้านที่ลงสู่ระบบ หรือเพียงราว 10% เท่านั้น เศรษฐกิจที่เสียหายจากการล็อคดาวน์เข้มข้นเดือนละ 1.5-2.5 แสนล้านบาท ถูกชดเชยด้วยเงินอัดฉีดเข้าระบบจากเงินกู้ก้อนนี้เฉลี่ยเพียงเดือน 1 หมื่นล้านบาท เมื่อเงินที่อัดฉีดเข้าระบบน้อยกว่าเงินที่หายไปถึง 15 เท่า แบบนี้เศรษฐกิจเดินต่อไม่ได้

ด้านสาธารณสุข วงเงิน 30,000 ล้าน เบิกจ่ายเพียง 1,828 ล้าน (หรือ 6%) ประเทศต้องการวัคซีนเร่งด่วน ต้องเร่งฟื้นฟูระบบสาธารณสุขทันที แต่งบปรับปรุงสถานพยาบาลกลับอนุมัติ 0% เบิกจ่าย 0% 

ด้านการฟื้นฟูประเทศวงเงิน 170,000 ล้านบาทนั้น อนุมัติ 0% เบิกจ่าย 0% เช่นกัน ไม่มี ไม่ทำ ไม่สร้าง โครงการรักษาระดับการจ้างงาน หรือมาตรการคงการจ้างงาน มีแต่ชื่อโครงการ ถึงวันนี้ อนุมัติ 0% เบิกจ่าย 0% ต้องรอให้คนตกงานทั้งบ้านทั้งเมืองแล้วค่อยมาตามแก้อย่างนั้นหรือ การกระตุ้นการลงทุน ยังไม่มีการใช้จ่ายเช่นกัน และท้ายสุดจะไปจบที่ “เราเที่ยวด้วยกัน ชิมช้อปใช้ คนละครึ่ง” โครงการชื่อสวย แต่ไร้ประโยชน์เช่นเคย 

2. “ชุ่ย” : ในแผนงานเงินกู้ 5 แสนล้านบาทนั้น ทุกโครงการเป็นโครงการจ่ายทิ้ง ใช้แล้วหมดไปทั้งนั้น ไม่มีเงินฟื้นฟูที่เอาไปสร้างอนาคตประเทศ ไม่มีการสร้างโครงสร้างการพัฒนาให้กับประเทศเป็นชื้นเป็นอัน ไม่มีการจัดสรรงบในส่วนนี้ และแรงงานนอกระบบกว่า 20 ล้านคนถูกละทิ้งจากเงินกู้ 5 แสนล้านนี้ พ่อค้าแม่ค้าในตลาด หาบเร่แผงลอย อาชีพกลางคืนที่ถูกเคอร์ฟิว ฯลฯ เหล่านี้ถูกมองข้าม ไม่มีโครงการเยียวยากลุ่มนี้ 

ขยายเพดานหนี้ ขยายความล้มเหลวซ้ำซาก 

พรรคเพื่อไทยเข้าใจดีถึงความจำเป็นต้องใช้เงินในการประคองเศรษฐกิจ แต่ต้องเข้าใจเช่นเดียวกันว่าความจำเป็นของการต้องใช้เงินเพิ่มนี้ ทั้งหมดเกิดจากความล้มเหลวของการใช้เงินกู้ 2 ก้อนที่ผ่านมา หากใช้ให้ดี เงินกู้ 2 ก้อนนั้น มีขนาดที่เหลือเฟือ เราจะไม่เดินมาสู่จุดนี้ ความล้มเหลวของเงินกู้ 1 ล้านล้าน ตามด้วย 5 แสนล้าน และวันนี้เปิดช่องให้รัฐบาลกู้เพิ่มได้อีกราว 1.2 ล้านล้านบาท ไม่น่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ตลอด 7 ปีที่ผ่าน รัฐบาลสร้างหนี้ ไม่สร้างรายได้ หนี้โตเร็วกว่ารายได้ประเทศถึงกว่า 2 เท่าต่อปีโดยเฉลี่ย การขยายเพดานครั้งนี้ เป็นการเปิดช่องให้สร้างหนี้ที่ไม่สร้างรายได้อย่างก้าวกระโดด

ความอันตรายไม่ได้อยู่ที่ความมั่นคงทางการคลัง แต่กลับอยู่ที่เรากำลังพึงพอใจกับ “ค่านิยมล้มเหลวซ้ำซาก”เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า เรากำลังสนับสนุนการกู้ไปเรื่อยๆ แบบไร้จุดหมาย กู้แล้วเจ๊ง ก็กู้ใหม่ กู้อย่างไม่มีขอบเขต เป็นวังวน

การสร้างหนี้ไม่ใช่ของฟรี เป็นของที่มีราคา หนี้ที่สร้างมาจึงต้องสร้างรายได้ เมื่อหนี้ไม่สร้างรายได้ ระยะต่อไปจะได้เห็นการหารายได้ของรัฐบาลผ่านการขึ้นภาษีต่างๆ ซึ่งยิ่งทำร้ายเศรษฐกิจมากขึ้นไปอีก และถ้าทำไม่ได้ ท้ายสุดจึงลงเอยด้วยการกู้หนี้มาโป๊ะหนี้ต่อไปเรื่อยๆ 

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเรียนรู้จากบทเรียนความล้มเหลวในอดีต และไม่ปล่อยให้ให้ความล้มเหลวนั้นเกิดขึ้นอย่างซ้ำซาก ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2564

อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางฯ หนุนสอบทุจริต รัฐขายยางราคาต่ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจิตติน วิเศษสมบัติ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ 

กองยาง 104,000 ตัน เศษ มียาง แผ่น รมควันอัดก้อน 96 % มียางอัดก้อน  3% กว่า มีเศษยาง เกือบ 1% จัดเก็บ ใน 17 โกดัง  

มติ ครม. ให้ขายยาง กองนี้ โดยไม่ได้กำหนดวิธีการขายแต่ก็ต้องอ้างอิง พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ปี พ.ศ. 2560 และข้อบังคับทางธุรกิจ ของหน่วยงานนั้นๆ ที่มี ซึ่งได้มีข้อบังคับ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว จาก ครม.

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ต้องเตรียมความพร้อมว่าจะขายให้ใครทีเดียวหมด โดยเริ่มวางแผน มีทั้งคนใน คนนอก และกรรมการของรัฐ นั้นทั้งคณะ วางแผนต้องทำไง?

1. หาบริษัทให้ได้โดย กำหนดเงื่อนไขพิเศษขึ้นมา แล้วเอาไปเขียนเป็น TOR เพื่อล๊อก สเป๊ก เบื้องต้นไว้ก่อน

2. ต้องหาทุนให้เพียงพอกับการซื้อครั้งนี้ โดยการวางแผน กู้เงิน ขายหุ้น และ ยืมเงินในฐานะ เป็น บ.มหาชนจึงต้อง มีการระมัดระวัง การยืมจึงทำเป็นการวางมัดจำสินค้าแทน

3. ต้องหาบริษัทมารองรับยาง ที่จะได้มา จำนวนมาก โดยได้มาแล้วต้องขายทันที ในราคาที่สมยอมกันได้ คือ วิน วิน ด้วยกันทั้ง คู่ แต่มีหลายคู่

เมื่อได้วางแผนจนกระทั้งได้หนทางแล้วก็เริ่มปฎิบัติการ เงินกู้ 2 ครั้ง ผ่านหมด ได้เงิน 1,900 ล้าน ขายหุ้นได้ภายในวันเดียว 1,300 ล้าน หาเงินในการวางมัดจำสินค้า 1,500 ล้าน จึงปฎิบัติการ

8 เมย 2564 ประชุม บอร์ด (ประชุมลับ) เพื่อกำหนด วิธีการและข้อกำหนด TOR

9 เมยายน 2564 ประกาศ TOR โดยล๊อก สเป๊ก เรียบร้อย ก็จะมีบริษัท ที่มีคุณสมบัติ เพียง 6 บริษัท แต่ออกประกาศตอนไหน กี่โมง ไม่รู้ แต่รู้เมื่อมีข่าว ใน นสพ. ว่าจะขายยางโดยการให้ข่าวของประธาน และ ผวก จึงได้มีการติดตามข่าวว่า TOR เขียนว่าไง หาใน เว็บ กยท. ก็ไม่มี จนสุดท้าย นสพ. หามาได้ แล้วเอามาลงหนังสือพิมพ์ จึงเห็นความผิดปกติ หลายประการ 

ประกาศ ให้ยื่นซอง 9-20 เมษายน 2564 

แต่ชี้แจงว่าส่งให้ทั้ง 6 บริษัท และต้องขึ้นเว็บ ทำไม เมื่อมี 6 บริษัทที่เข้าเกณฑ์ซึ่งมีวันทำการเพียง 3 วันเท่านั้น ถ้า บริษัทที่ไม่ได้เตรียมการมาก่อน จะทำตามกติกา ที่กำหนดไว้ได้หรือไม่

เปิดซองเมื่อไหร่ไม่ทราบ เพราะไม่ได้ตั้งกรรมการเปิดซอง พิจารณาราคา แต่วันที่ 22 เมษายน 2564 ได้มีการสนองรับราคา 

23 เมษายน 2564 มีการเรียกประชุม บอร์ด (ประชุมลับ) เพื่อให้ สัตยาบัน การสนองรับราคา ของ ผวก.

*การพิจารณาราคากลาง บอกจ้าง บริษัท ..... ซึ่งไม่รู้มาจากไหน และจ้างตอนไหน ทำงานตรวจสอบตอนไหน ที่ไหนบ้าง เห็นแต่คณะ ที่มีทั้งคนในและคนนอก 1 คน พร้อมผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ กลุ่มหนึ่งไปดูยางที่ โกดัง ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี ซึ่งปรากฎรูปถ่ายนั่งหัวโต๊ะ ด้วยกันในห้อง ประชุม (ไปแล้วกลับมาประชุมลับในวันที่ 8 เมษา)

การสั่งการ ให้จ่ายเงินค่าตรวจสอบยาง ว่าต้องถ่ายมีพยานชัดว่าใครสั่งการให้จ่ายเพราะหามาเอง เหตุที่ต้องให้มี บริษัท มาตรวจสอบ เพื่อไว้อ้างอิง

ราคากลาง ที่ คณะบริหารยางกองนี้ กำหนดไว้ที่ 37.01 นั่น เป็นราคาที่ ตั้งไว้นานแล้วโดยอ้างถึงราคา FOB กรุงเทพ ในกสมัยที่ราคายางตอนนั้น เพียง 40 กว่าบาท/กก. ดังนั้นต้องรู้ไว้ว่า ราคา FOB ที่ประกาศทุกวัน ก็จะเปลี่ยนแปลงตลอด การกำหนด ราคา ต้อง ยางแผนรมควันอัดก้อน นั้น ต้องๆ ลบด้วยๆ ตัวเลข 3.4 บาท ของราคา FOB  ในวันนั้น

การขายยางไม่ได้ใช้ พรบ. ปี 2560 เพราะคิดว่าถ้าใช้จะกำหนด สเป๊กแบบนั้นไม่ได้

หลีกเลียงไปใช้ ข้อบังคับการขายยาง ปี พศ 2559 (ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว) และจะใช้ข้อบังคับทางธุรกิจ ปี 2561 ก็ไม่ได้ เพราะกระบวนการ จะทำแบบที่ทำกันก็ไม่ได้

จะอ้าง พรบ. ปี 2560 ว่า เพียงรายเดียวก็สามารถขายได้ เป็นการอ้างข้างๆ คูๆ ทำไม พรบ. ทั้งฉบับ จึงหยิบมาใช้เพียงข้อเดียว เท่านั้น โดยที่อย่างอื่นไม่ใช้เลย

แต่ผู้เขียน สงสัย สุดในทุกเรื่อง สำคัญที่สุด คือ ผิด พรบ.ฮั้วใช่ไหม? ใช่หรือไม่? มีหน่วยงานที่ตรวจสอบได้ทุกขั่นตอนอยู่แล้ว คือ DSI 

รอน่ะอย่าโวยวาย แล้วที่คิดว่า กยท. เป็นสถานที่ ที่จะมาแสวงหาผลประโยชน์ โดยวางแผนจะมาเป็นผู้บริหารระดับสูงเพื่อกิบรวบในทุกรายการ คงไม่สวยหรูอย่างที่คิดหรอก ถ้าหลักฐานออกมาแล้ว มาติดตามกันว่า ใครต้องโดนอะไร

"ถ้าเรื่องนี้ ไม่ทุจริต ไม่ฮั้วกันแล้ว ต่อไปจะมีรูปแบบนี้อีก มากมาย และมีอีกหลายองค์กร"

 

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2564

"นพดล" ชี้เลือกตั้งบัตร 2 ใบ ประชาชนได้ประโยชน์

นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตฝ่ายกฏหมาย ของ ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

ตามที่มีผู้วิจารณ์ว่าการแก้ รธน.ให้การเลือกตั้งไปใช้บัตร 2 ใบประชาชนไม่ได้ประโยชน์นั้น ผมเห็นว่าบัตร 2 ใบทำให้ 1) ประชาชนมีสิทธิเลือก right to choose คนและพรรคแยกกัน 2)ระบบพรรคเข้มแข็งลดการต่อรองทางการเมือง 3)เปิดทางคนเก่งเข้าสู่การเมืองเป็น สส. แบบบัญชีรายชื่อแยกคำนวณจาก สส. เขตชัดเจน และ 4) สูตรคำนวณสส.ชัดเจนสามารถประกาศผลเลือกตั้งและตั้งรัฐบาลแก้ปัญหาประชาชนได้เร็วขึ้น สิ่งข้างต้นประชาชนได้ประโยชน์

การเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบในตัวของมันเองไม่ได้ทำให้พรรคใดได้เปรียบ แต่ทำให้ไม่มีพรรคใดเสียเปรียบ เพราะทุกพรรคแข่งในสนามเลือกตั้งและสามารถส่งผู้สมัครได้เท่าเทียม ผมเห็นว่าผลการเลือกตั้งขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของประชาชนในวันเลือกตั้งว่านโยบาย โดน ผู้สมัคร ดี แคนดิเดทนายกฯ ดัง ผลงานพรรค เด่น หรือไม่ โดยเฉพาะในการเลือกตั้งครั้งหน้านี้ ปัจจัยสำคัญคือ 1)นโยบายและแนวทางที่จะกู้วิกฤตโควิด และวิกฤตเศรษฐกิจ ที่แต่ละพรรคจะเสนอก่อนเลือกตั้งนั้นต้องคมชัดตรงเป้า และ 2)ผลงานและชื่อเสียงพรรคว่าเคยทำสำเร็จตามนโยบายหรือไม่

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2564

"ธีรรัตน์" ดีใจ เยาวชน-คนรุ่นใหม่สนใจการเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ (KAS) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย (iDS) โดย ดร.ประเสริฐ พัฒนผลไพบูลย์ จัดงานเสวนาวิชาการแบบออนไลน์ ในประเด็น "นโยบายการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศของไทย" โดยมีวิทยากรจากหลากหลายมิติ คุณนภาจรีย์ จิวนันทประวัติ ผู้จัดการอาวุโสด้านโครงการมูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ และเลขานุการกรรมาธิการการต่างประเทศ ดร.อันธิกา ปรียานนท์ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก สำนักงานสหประชาชาติ (UN ESCAP) กรุงเทพฯ ดร.จุฑามณี สามัคคีนิชย์ และ ผศ.ชาญณวุฒ ไชยรักษา อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ทั้งนี้ ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ และเลขานุการกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ร่วมแสดงทัศนะ โดยกล่าวถึงบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในกิจการต่างประเทศเอาไว้ 3 ข้อหลักๆ ได้แก่ (1.) การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เนื่องจากความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญา การติดต่อการค้า หรือการลงทุน ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้การช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาในประเด็นต่างๆในต่างประเทศ มีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับประเทศนั้นๆ ดังนั้นความสัมพันธ์ที่ดีของประเทศไทยกับนานาประเทศจึงเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ Covid-19 ที่มีประเด็นที่ละเอียดซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ประเด็นในด้านการ Quarantine ก่อนการเดินทาง หรือการช่วยเหลือนักเรียนไทยหรือแรงงานไทยที่ติดค้างอยู่ต่างประเทศ และปัญหาการเรียกร้องความเป็นธรรมในบริเวณเขตชายแดน เป็นต้น ทำให้บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไป (2.) การเสนอแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานช่วยเหลือประชาชน หรือการเชิญเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศมาให้ข้อมูลเพื่อหาทางช่วยเหลือ รวมถึงการหางบประมาณมาใช้ในการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น และ (3.) การแสดงจุดยืนในฐานะพลเมืองโลก ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่รวมถึงประเด็นในระดับระหว่างประเทศด้วย โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การแสดงจุดยืนให้ประเทศพม่าหยุดใช้ความรุนแรงกับประชาชน เป็นต้น (4.) การเสริมสร้างความเข้มแข็ง หรือการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง หรือกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง (5.) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประชาคมอาเซียน เนื่องจากปัญหาภายในประเทศหลักๆมาจากการที่ประเทศไทยขาดความมั่นคงทางการเมือง ทำให้ความสัมพันธ์กับต่างประเทศถดถอย เพราะสูญเสียความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ โดยมีสาเหตุมาจากการไม่เคารพสิทธิและเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชน หรือหลักการสากลต่างๆ เป็นต้น บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงมีความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ ได้กล่าวด้วยว่า “วิสัยทัศน์หรือภาวะผู้นำของผู้นำประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญและมีผลต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วงถาม-ตอบท้ายของงานเสวนา ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ ได้กล่าวว่า กรรมาธิการการต่างประเทศเห็นความสำคัญของการส่งเสริมบทบาทเยาวชนที่มีส่วนร่วมทางการเมือง และดีใจที่ปัจจุบันน้อง ๆ นักศึกษาเข้าใจในสิทธิเสรีภาพมากขึ้น และออกมาส่งเสียงเพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ได้มากขึ้น


"คอนราดฯ-ไอดีเอส" เสวนานโยบายการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศของไทย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า มูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ (KAS) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย (iDS) โดย ดร.ประเสริฐ พัฒนผลไพบูลย์ จัดงานเสวนาวิชาการแบบออนไลน์ ในประเด็น "นโยบายการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศของไทย" โดยมีวิทยากรจากหลากหลายมิติ คุณนภาจรีย์ จิวนันทประวัติ ผู้จัดการอาวุโสด้านโครงการมูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ และเลขานุการกรรมาธิการการต่างประเทศ ดร.อันธิกา ปรียานนท์ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก สำนักงานสหประชาชาติ (UN ESCAP) กรุงเทพฯ ดร.จุฑามณี สามัคคีนิชย์ และ ผศ.ชาญณวุฒ ไชยรักษา อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์และ รัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ดร.ประเสริฐ พัฒนผลไพบูลย์ ในนามสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวว่า การจัดเสวนาในครั้งนี้ เป็นความมุ่งหมายของทาง มูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ สถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย และ คณะสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในมิติความร่วมมือระหว่างประเทศ รวมไปถึงนโยบายการพัฒนาระหว่างประเทศที่เป็นความร่วมมือกัน ไม่ว่าจะเป็นบทบาทของสหภาพยุโรป บทบาทของสหประชาชาติ UN ที่มีต่อการพัฒนาประเทศต่างๆ การดำรงอยู่ของประเทศต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ไม่สามารถแยกออกจากความเป็นประชาคมโลก และ พลเมืองโลกได้  โดยเฉพาะหลังยุค Globalization เป็นต้นมาทำให้ประเทศต่างๆ เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน เกี่ยวข้องซึ่งกันและกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการแลกเปลี่ยนทั้งสินค้าทรัพยากร การเคลื่อนย้ายของประชากรต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาใหม่ๆเกิดความท้าทายใหม่ๆขึ้น ซึ่งความท้าทายเหล่านั้นที่เรียกว่า Global Problems จำเป็นที่ต้องแก้ไขโดยบริบทของการเมืองระหว่างประเทศ เป็นทางออกของประชาคมโลก หรือ Global Solution สำหรับหลายๆประเทศที่ต้องมาขบคิดแสวงหาทางออกร่วมกัน การจัดงานในวันนี้ เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมองด้านต่างๆ ว่าบทบาทขององค์กรระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ในการบรรลุภารกิจเพื่อแก้ไขปัญหาของมวลมนุษยชาติ การแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยกัน มีการขับเคลื่อนในมิติต่างๆอย่างไรบ้างครับ

ทั้งนี้ ดร.ธีรรัตน์ สาเร็จวาณิชย์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพฯ และเลขานุการกรรมาธิการการต่างประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ร่วมแสดงทัศนะ โดยกล่าวถึงบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยในกิจการต่างประเทศเอาไว้ 3 ข้อหลักๆ ได้แก่ (1.) การพัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ เนื่องจากความร่วมมือไม่ว่าจะเป็นสนธิสัญญา การติดต่อการค้า หรือการลงทุน ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศทั้งสิ้น นอกจากนี้การช่วยเหลือคนไทยที่ประสบปัญหาในประเด็นต่างๆในต่างประเทศ มีความจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือกับประเทศนั้นๆ ดังนั้นความสัมพันธ์ที่ดีของประเทศไทยกับนานาประเทศจึงเป็นประโยชน์ต่อประชาชนคนไทยทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของ Covid-19 ที่มีประเด็นที่ละเอียดซับซ้อนยิ่งขึ้น เช่น ประเด็นในด้านการ Quarantine ก่อนการเดินทาง หรือการช่วยเหลือนักเรียนไทยหรือแรงงานไทยที่ติดค้างอยู่ต่างประเทศ และปัญหาการเรียกร้องความเป็นธรรมในบริเวณเขตชายแดน เป็นต้น ทำให้บทบาทหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรยิ่งทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไป (2.) การเสนอแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานช่วยเหลือประชาชน หรือการเชิญเจ้าหน้าที่กระทรวงต่างประเทศมาให้ข้อมูลเพื่อหาทางช่วยเหลือ รวมถึงการหางบประมาณมาใช้ในการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น และ (3.) การแสดงจุดยืนในฐานะพลเมืองโลก ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศไทย แต่รวมถึงประเด็นในระดับระหว่างประเทศด้วย โดยมีตัวอย่างที่ชัดเจนคือ การแสดงจุดยืนให้ประเทศพม่าหยุดใช้ความรุนแรงกับประชาชน เป็นต้น (4.) การเสริมสร้างความเข้มแข็ง หรือการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทางการเมือง หรือกิจกรรมต่างๆ ทั้งที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง (5.) การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับประชาคมอาเซียน เนื่องจากปัญหาภายในประเทศหลักๆมาจากการที่ประเทศไทยขาดความมั่นคงทางการเมือง ทำให้ความสัมพันธ์กับต่างประเทศถดถอย เพราะสูญเสียความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ โดยมีสาเหตุมาจากการไม่เคารพสิทธิและเสรีภาพ หรือสิทธิมนุษยชน หรือหลักการสากลต่างๆ เป็นต้น บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจึงมีความสำคัญกับการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ดร.ธีรรัตน์ ได้กล่าวด้วยว่า “วิสัยทัศน์หรือภาวะผู้นำของผู้นำประเทศก็เป็นสิ่งสำคัญและมีผลต่อการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย”

ทางด้าน คุณนภาจรีย์ จิวนันทประวัติ ผู้จัดการอาวุโสด้านโครงการมูลนิธิคอนราด-อเดนาวร์ กล่าวว่า ได้อธิบายว่าชื่อมูลนิธิมาจากชื่อของนายกรัฐมนตรีคนแรกของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (Federal Republic of Germany) เนื่องจากผู้ร่วมก่อตั้งมีความประทับใจในแนวทางการบริหารงานของท่าน ที่ทำให้เกิดความมั่นคงทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของประเทศเยอรมัน โดยมีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งคือ การส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ (Liberty) ความเสมอภาค (Equality) และภราดรภาพ (Fraternity) ของคนในเยอรมันและคนทั่วโลก เนื่องจากมูลนิธิฯมีความเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย (Democracy) โดยเฉพาะระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา (Parliamentary Democracy) เพราะเป็นระบอบที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม (Participation) มูลนิธิฯจึงได้มีสาขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงอยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่ ในประเทศไทยมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ ได้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจ โดยได้ทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ของรัฐสภาด้วย นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯยังเชื่ออีกว่าความยุติธรรม (Justice) จะสามารถลดความขัดแย้งได้ จึงได้พัฒนาส่งเสริมหลักนิติธรรม (Rule of Law) ของประเทศไทยมาโดยตลอด ทั้งในด้านระบบและด้านบุคลากร ตลอดจนการพัฒนากฎหมาย โดยวิทยากรให้ความเห็นว่ากฎหมายเป็นสิ่งที่พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นได้ตามความเหมาะสมและความต้องการของประชาชน

ขณะที่ ดร.อันธิกา ปรียานนท์ เจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก สำนักงานสหประชาชาติ (UN ESCAP) กรุงเทพฯ ได้ร่วมแสดงทัศนะโดยระบุว่า UN ก่อตั้งขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยประเทศผู้ก่อตั้งเริ่มแรก 51 ประเทศ ซึ่งได้มีการออกกฎบัตรสหประชาชาติ (Charter of the United Nations) อันเป็นข้อตกลงที่บรรดาประเทศผู้ก่อตั้งและร่วมเป็นสมาชิก UN ได้ให้สัตยาบันเข้าผูกพัน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และหลักการ ตลอดจนวิธีการดำเนินงานต่างๆของ UN ถือเป็นกฎหมายระหว่างประเทศและสัญลักษณ์การเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการของ UN ปัจจุบัน UN มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 193 ประเทศ นับรวมประเทศไทยที่ได้เข้าร่วมตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม ปี 1946 หน่วยงานที่เป็นฟันเฟืองหลักของ UN ในงานด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relation) คือ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (General Assembly: GA) หลักการคือ ประเทศสมาชิกทุกประเทศจะเข้าประชุมที่ GA โดยแต่ละประเทศจะมี 1 เสียง (Vote) เท่าเทียมกัน ซึ่งประเทศไทยมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศสมาชิก UN และพยายามให้ได้รับการยอมรับเสมอมา และนอกจากนี้ มีอีกหนึ่งหน่วยงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (The United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: UN-ESCAP) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างสันติภาพและความมั่นคงของโลก UN-ESCAP ถือเป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ใหญ่ที่สุดของ UN เนื่องจากภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกมีประชากรถึง 4.1 พันล้านคน หรือ 2 ใน 3 ของประชากรโลก อย่างไรก็ดีประเทศไทยก็พยายามเป็นสมาชิกที่ดีและกระตือรือร้นในเวที UN-ESCAP เสมอมาเช่นเดียวกันกับเวทีอื่นๆของ UN นอกจากนี้สำนักงานใหญ่ของ UN-ESCAP ก็ตั้งอยู่ที่ประเทศไทยด้วย ทำให้เกิดประโยชน์ในมิติต่างๆตามมามากมาย หนึ่งในประโยชน์ที่ประเทศไทยรวมถึงประเทศเล็กๆอื่นๆได้รับจาก UN หรือ UN-ESCAP ก็คือ สามารถหลีกเลี่ยงการเจรจาที่มีลักษณะเป็นแบบฝั่งหนึ่งได้ประโยชน์อีกฝั่งหนึ่งเสียประโยชน์ได้ (Zero-sum Game) นับเป็นการเปิดโอกาสในการพัฒนามากยิ่งขึ้น รวมถึงโอกาสในการได้รับการสนับสนุนหรือความร่วมมือจากนานาประเทศด้วยในฐานะส่วนหนึ่งของสังคมนานาชาติ (International Society) อีกหนึ่งผลประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการเป็นสมาชิก UN หรือ UN-ESCAP คือ การได้รับการยอมรับจากสังคมโลก หรือภาพพจน์ที่ดีของประเทศไทยในสายตาประชาโลก นอกจากนี้ยังได้บุคลากรที่มีความรู้ในระดับผู้เชี่ยวชาญมาช่วยงานในด้านต่างๆด้วย เช่น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร (Capacity Building) พลังงาน (Energy) และการจัดการภัยพิบัติ (Disaster Relief) เป็นต้น