ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจิตติน วิเศษสมบัติ อดีตประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการยางแห่งประเทศไทย เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้
กองยาง 104,000 ตัน เศษ มียาง แผ่น รมควันอัดก้อน 96 % มียางอัดก้อน 3% กว่า มีเศษยาง เกือบ 1% จัดเก็บ ใน 17 โกดัง
มติ ครม. ให้ขายยาง กองนี้ โดยไม่ได้กำหนดวิธีการขายแต่ก็ต้องอ้างอิง พรบ.จัดซื้อจัดจ้างฯ ปี พ.ศ. 2560 และข้อบังคับทางธุรกิจ ของหน่วยงานนั้นๆ ที่มี ซึ่งได้มีข้อบังคับ พ.ศ. 2561 ที่ผ่านการเห็นชอบแล้ว จาก ครม.
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ต้องเตรียมความพร้อมว่าจะขายให้ใครทีเดียวหมด โดยเริ่มวางแผน มีทั้งคนใน คนนอก และกรรมการของรัฐ นั้นทั้งคณะ วางแผนต้องทำไง?
1. หาบริษัทให้ได้โดย กำหนดเงื่อนไขพิเศษขึ้นมา แล้วเอาไปเขียนเป็น TOR เพื่อล๊อก สเป๊ก เบื้องต้นไว้ก่อน
2. ต้องหาทุนให้เพียงพอกับการซื้อครั้งนี้ โดยการวางแผน กู้เงิน ขายหุ้น และ ยืมเงินในฐานะ เป็น บ.มหาชนจึงต้อง มีการระมัดระวัง การยืมจึงทำเป็นการวางมัดจำสินค้าแทน
3. ต้องหาบริษัทมารองรับยาง ที่จะได้มา จำนวนมาก โดยได้มาแล้วต้องขายทันที ในราคาที่สมยอมกันได้ คือ วิน วิน ด้วยกันทั้ง คู่ แต่มีหลายคู่
เมื่อได้วางแผนจนกระทั้งได้หนทางแล้วก็เริ่มปฎิบัติการ เงินกู้ 2 ครั้ง ผ่านหมด ได้เงิน 1,900 ล้าน ขายหุ้นได้ภายในวันเดียว 1,300 ล้าน หาเงินในการวางมัดจำสินค้า 1,500 ล้าน จึงปฎิบัติการ
8 เมย 2564 ประชุม บอร์ด (ประชุมลับ) เพื่อกำหนด วิธีการและข้อกำหนด TOR
9 เมยายน 2564 ประกาศ TOR โดยล๊อก สเป๊ก เรียบร้อย ก็จะมีบริษัท ที่มีคุณสมบัติ เพียง 6 บริษัท แต่ออกประกาศตอนไหน กี่โมง ไม่รู้ แต่รู้เมื่อมีข่าว ใน นสพ. ว่าจะขายยางโดยการให้ข่าวของประธาน และ ผวก จึงได้มีการติดตามข่าวว่า TOR เขียนว่าไง หาใน เว็บ กยท. ก็ไม่มี จนสุดท้าย นสพ. หามาได้ แล้วเอามาลงหนังสือพิมพ์ จึงเห็นความผิดปกติ หลายประการ
ประกาศ ให้ยื่นซอง 9-20 เมษายน 2564
แต่ชี้แจงว่าส่งให้ทั้ง 6 บริษัท และต้องขึ้นเว็บ ทำไม เมื่อมี 6 บริษัทที่เข้าเกณฑ์ซึ่งมีวันทำการเพียง 3 วันเท่านั้น ถ้า บริษัทที่ไม่ได้เตรียมการมาก่อน จะทำตามกติกา ที่กำหนดไว้ได้หรือไม่
เปิดซองเมื่อไหร่ไม่ทราบ เพราะไม่ได้ตั้งกรรมการเปิดซอง พิจารณาราคา แต่วันที่ 22 เมษายน 2564 ได้มีการสนองรับราคา
23 เมษายน 2564 มีการเรียกประชุม บอร์ด (ประชุมลับ) เพื่อให้ สัตยาบัน การสนองรับราคา ของ ผวก.
*การพิจารณาราคากลาง บอกจ้าง บริษัท ..... ซึ่งไม่รู้มาจากไหน และจ้างตอนไหน ทำงานตรวจสอบตอนไหน ที่ไหนบ้าง เห็นแต่คณะ ที่มีทั้งคนในและคนนอก 1 คน พร้อมผู้นำเกษตรกรในพื้นที่ กลุ่มหนึ่งไปดูยางที่ โกดัง ตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี ซึ่งปรากฎรูปถ่ายนั่งหัวโต๊ะ ด้วยกันในห้อง ประชุม (ไปแล้วกลับมาประชุมลับในวันที่ 8 เมษา)
การสั่งการ ให้จ่ายเงินค่าตรวจสอบยาง ว่าต้องถ่ายมีพยานชัดว่าใครสั่งการให้จ่ายเพราะหามาเอง เหตุที่ต้องให้มี บริษัท มาตรวจสอบ เพื่อไว้อ้างอิง
ราคากลาง ที่ คณะบริหารยางกองนี้ กำหนดไว้ที่ 37.01 นั่น เป็นราคาที่ ตั้งไว้นานแล้วโดยอ้างถึงราคา FOB กรุงเทพ ในกสมัยที่ราคายางตอนนั้น เพียง 40 กว่าบาท/กก. ดังนั้นต้องรู้ไว้ว่า ราคา FOB ที่ประกาศทุกวัน ก็จะเปลี่ยนแปลงตลอด การกำหนด ราคา ต้อง ยางแผนรมควันอัดก้อน นั้น ต้องๆ ลบด้วยๆ ตัวเลข 3.4 บาท ของราคา FOB ในวันนั้น
การขายยางไม่ได้ใช้ พรบ. ปี 2560 เพราะคิดว่าถ้าใช้จะกำหนด สเป๊กแบบนั้นไม่ได้
หลีกเลียงไปใช้ ข้อบังคับการขายยาง ปี พศ 2559 (ซึ่งถูกยกเลิกไปแล้ว) และจะใช้ข้อบังคับทางธุรกิจ ปี 2561 ก็ไม่ได้ เพราะกระบวนการ จะทำแบบที่ทำกันก็ไม่ได้
จะอ้าง พรบ. ปี 2560 ว่า เพียงรายเดียวก็สามารถขายได้ เป็นการอ้างข้างๆ คูๆ ทำไม พรบ. ทั้งฉบับ จึงหยิบมาใช้เพียงข้อเดียว เท่านั้น โดยที่อย่างอื่นไม่ใช้เลย
แต่ผู้เขียน สงสัย สุดในทุกเรื่อง สำคัญที่สุด คือ ผิด พรบ.ฮั้วใช่ไหม? ใช่หรือไม่? มีหน่วยงานที่ตรวจสอบได้ทุกขั่นตอนอยู่แล้ว คือ DSI
รอน่ะอย่าโวยวาย แล้วที่คิดว่า กยท. เป็นสถานที่ ที่จะมาแสวงหาผลประโยชน์ โดยวางแผนจะมาเป็นผู้บริหารระดับสูงเพื่อกิบรวบในทุกรายการ คงไม่สวยหรูอย่างที่คิดหรอก ถ้าหลักฐานออกมาแล้ว มาติดตามกันว่า ใครต้องโดนอะไร
"ถ้าเรื่องนี้ ไม่ทุจริต ไม่ฮั้วกันแล้ว ต่อไปจะมีรูปแบบนี้อีก มากมาย และมีอีกหลายองค์กร"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น