วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2566

“ดร.เผ่าภูมิ” ชูโมเดล ภาคบริการคู่ขนานท่องเที่ยว ดันเขตธุรกิจใหม่ 4 ภาค


ดร.เผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย และผู้อำนวยการศูนย์นโยบายพรรคเพื่อไทย ให้สัมภาษณ์ถึงแนวคิดการสร้างภาคบริการ 2570” ว่า

.

วันนี้ภาคบริการของโลกขยายตัวทวีคูณ แต่ไม่ใช่จากการท่องเที่ยว!

.

กว่าทศวรรษที่ไทยใช้การท่องเที่ยวเป็นหัวหอกเพื่อเข็นเศรษฐกิจประเทศ ท่องเที่ยวของไทยเป็นภาคบริการยุคเก่า ใช้ทะเล ภูเขา ธรรมชาติ และสิ่งปลูกสร้าง เป็นจุดขาย จะได้เงินกันต้องเจอหน้ากัน สร้างมูลค่าต่ำ มีผลิตภาพแรงงานต่ำ ผันผวนตาม ศก. โลก และเป็นการท่องเที่ยวเน้นปริมาณก่อนคุณภาพมาโดยตลอด


.

ต่อมา ไทยก็กลับมานั่งคิดว่า จำนวนนักท่องเที่ยวมากแต่มีรายได้ต่อหัวต่ำนั้นไม่ใช่คำตอบ ต้องเป็นนักท่องเที่ยวกำลังซื้อสูง รายได้ต่อหัวสูง อยู่ในไทยนานๆ เน้นนักท่องเที่ยวจากยุโรป โอเชียเนีย เอเชียใต้ แต่นั่นก็ยังไม่พอ!

.

วันนี้ประเทศรายได้สูง รวมทั้งอินเดีย กำลังโกยเงินมหาศาลจากภาคบริการรูปแบบใหม่ (Modern Services) ที่สร้างรายได้จากการขายบริการในรูปแบบใหม่ ไม่ต้องมาเจอหน้ากัน ก็หาเงินจากการขายบริการได้ ผ่าน Online Outsourcing ข้ามชาติ โดยใช้เทคโนโลยีสื่อสารเป็นตัวกลาง เช่น การบริการด้านบัญชีและกฎหมาย การบริการด้านธุรกิจการเงิน การบริการด้านวิศวกรรมและสถาปนิก การบริการแฟลตฟอร์ม การบริการด้านการศึกษา การบริการซอฟต์แวร์และ IT การบริการด้านการแพทย์ การบริการให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจ การบริการด้านการตลาด เป็นต้น เหล่านี้คือการหารายได้จากภาคบริการข้ามชาติรูปแบบใหม่ ซึ่งกำลังขยายตัวสูงมาก มีผลิตภาพแรงงานสูงกว่าถึง 6-12 เท่าตัว โกยเงินเข้าประเทศในต้นทุนที่ถูกกว่า แต่ไทยมีภาคบริการรูปแบบใหม่นี้เพียง 14% ของ GDP (สหรัฐอเมริกา 38% สิงค์โปร์ 33% ฟิลิปปินส์ 19% มาเลเซีย 19%) ทำให้ไทยเป็นประเทศท้ายๆของอาเซียน และไร้การสนับสนุนและทิศทางจากภาครัฐ    



.

พรรคเพื่อไทยปักธงตั้งเป้าสร้างภาคบริการรูปแบบใหม่ภายในปี 2570 คู่ขนานกับท่องเที่ยวแบบเดิม ซึ่งต้องใช้ทั้งทักษะวิชาชีพ (วิศวกรรม บัญชี การแพทย์...) ซึ่งไม่น่าห่วง ผนวกกับทักษะดิจิทัล ซึ่งตรงนี้น่าห่วงมาก ต้องยกเครื่องทั้งคนและโครงสร้างด้านดิจิทัล โดยพรรคเพื่อไทยตั้งเป้าตอก 2 เสาเข็ม ศก. ดิจิทัลให้กับประเทศสร้างคนให้รู้ สร้างโครงสร้างให้พร้อมโดยเฉพาะในเขตธุรกิจใหม่ทั้ง 4 ภาค ซึ่งจะเป็นแหล่งบ่มเพาะทักษะดิจิทัล แหล่งสร้างงานยุคใหม่ โดยสร้างกฎหมายธุรกิจชุดใหม่ดึงดูดและเอื้อต่อโมเดลภาคบริการยุคใหม่จากต่างชาติให้มาลงทุนในไทย รื้อกฏระเบียบการเคลื่อนย้ายแรงงานจากต่างชาติ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้เอื้อต่อภาคบริการรูปแบบใหม่ ทลายข้อจำกัดในระบบการเงินด้วย CBDC และดึงดูด Digital Nomad จากต่างประเทศเข้าพำนักในไทย โดยใช้ 4 เขตธุรกิจใหม่เป็นศูนย์กลาง

.

เพราะวันนี้เราถึงทางตันของรายได้แบบเก่า รายได้รูปแบบใหม่ เครื่องยนต์ตัวใหม่จึงต้องถูกสร้างขึ้น

“ประชาชาติ” รับหนังสือกลุ่มมวลชน เรียกร้องคืนสิทธิการประกันตัวผู้ต้องหาคดีการเมือง


พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง .. แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติรับหนังสือจากนายรัฐภูมิ เลิศไพจิตร โฆษกกลุ่มมวลชนอาสาเรียกร้องประชาธิปไตย We Volunteer คืนสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องหาคดีการเมือง



(วันอังคารที่ 24 มกราคม 2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 14.20 นาฬิกา จุดรับยื่นหนังสือ ชั้น 1 (โซนกลาง) อาคารรัฐสภา พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง .. แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ พร้อมด้วย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ .. พรรคเพื่อไทย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ..พรรคก้าวไกล และนายสมชัย ศรีสุทธิยากร ตัวแทนพรรคเสรีรวมไทย และคณะ รับยื่นหนังสือจากนายรัฐภูมิ เลิศไพจิตร โฆษกกลุ่มมวลชนอาสาเรียกร้องประชาธิปไตย (We Volunteer) เรื่อง คืนสิทธิการประกันตัวให้ผู้ต้องหาคดีการเมืองและการเสนอนโยบายเพื่อรับประกันสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงออกทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยระบุว่า ทั้งนี้ พรรคการเมืองในฐานะองค์กรสำคัญภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีหน้าที่ในการพิทักษ์และปกป้องสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนภายใต้รัฐธรรมนูญ การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นรากฐานอีกประการหนึ่งในการสร้างประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ แต่ในปัจจุบันได้มีประชาชนถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองและถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว 



สำหรับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 29 วรรค 2 ได้รับรองหลักสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ (Presumption of innocence) ว่าเป็นหนึ่งในสิทธิของปวงชนชาวไทยโดยให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิดและก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดจะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิดมิได้ แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะประกาศหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์ไว้ชัดเจนแต่กลับพบว่าความเป็นจริงมิได้เป็นเช่นนั้น ผู้ต้องหาทางการเมืองแม้จะยังไม่ถูกตัดสินว่ามีความผิดได้รับการปฏิบัติเสมือนนักโทษคนหนึ่งรวมถึงไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ถือเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง เนื่องมาจากการใช้อำนาจที่เกินขอบเขตและไม่มีการตรวจสอบอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการรับประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน จึงขอเสนอให้พรรคการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยควรมีนโยบายในการรับประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนต่อการแสดงออกทางการเมืองในทุกมิติ การรับประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชนมิได้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือผู้ต้องหาคดีทางการเมืองในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อลูกหลานของประเทศในอนาคตอีกด้วย


.

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง กล่าวภายหลังการรับยื่นหนังสือว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้รับรอง สิทธิในการประกันตัวที่จำเลยสามารถขอใช้สิทธิดังกล่าวได้ทุกราย หากไม่ให้สิทธิประกันตัวถือว่าผิดกฎหมาย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ผู้บังคับใช้กฎหมายต้องใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียม การชุมนุมทางการเมืองถือเป็นการแสดงออกทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยโดยบริสุทธิ์ พรรคมีความห่วงใยต่อกลุ่มผู้ชุมนุม จึงขอเรียกร้องไปยังผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้เคารพกฎหมายและปฎิบัติกับกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน





วันนี้เราเห็นมีการใช้อำนาจเหนือกฎหมาย และใช้กฎหมายเหนือความยุติธรรม สิทธิการประกันตัวเป็นเรื่องที่รัฐธรรมนูญระบุว่าต้องให้ หากไม่ให้ต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือวันนี้เราอยู่ในยุคของอำนาจนิยม มีการใช้อำนาจขจัดคนที่ไม่เห็นด้วย การมาเรียกร้องจึงเป็นสิทธิทางประชาธิปไตยโดยตรงที่ต้องส่งเสริม” พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง กล่าว

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2566

"ทวี" ติง การก่อสร้างรัฐสภาล่าช้า เกิดความเสียหายแก่รัฐ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้


การก่อสร้างรัฐสภาล่าช้ามากกว่า 2 ปี ผู้รับเหมาต้องเสียเงินค่าปรับตามสัญญามากกว่า 9.8 พันล้านบาท ทำไมค่าปรับจึงเป็น “0” (หายสิ้นไป) ?

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จํากัด (มหาชน) ให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ พร้อมอาคารประกอบ งานสาธารณูปโภค งานสาธารณูปการ งานระบบประกอบอาคารและภายนอกอาคาร งานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และอุปกรณ์ครุภัณฑ์ ในพื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ตามสัญญาเลขที่ 116/2556 ลงวันที่ 30 เมษายน 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มูลค่างานตามสัญญา จำนวน 12,280 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญาและที่ขยายระยะเวลา ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2556 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 รวมทั้งสิ้น 2,764 วัน

.

เมื่อครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ผู้รับเหมาก่อสร้างไม่สามารถทำงานให้แล้วเสร็จตามเวลาที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งตามสัญญาจ้างก่อสร้างฯ “ข้อ 20 ค่าปรับและค่าเสียหาย” กำหนดให้ ผู้รับจ้างจะต้องชำระค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.10 (ศูนย์จุดหนึ่งศูนย์) ของราคางานจ้างก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา หรือวันละ 12.28 ล้านบาท และต้องชำระค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้ควบคุมงานและที่ปรึกษาบริหารโครงการ วันละ 332,140 บาท รวมแล้วประมาณวันละ 12.61 ล้านบาทเศษ ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ผู้รับจ้างทำงานไม่เสร็จก่อสร้างล่าช้า ซึ่งการทำสัญญาและหลักประกันนั้น ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ใน มาตรา 97  สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขไม่ได้ และกรณีนี้ไม่น่าจะเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 97 กับ มาตรา 102 การงดหรือลดเบี้ยปรับผู้มีอำนาจพิจารณาได้ตามจำนวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริง เฉพาะในกรณีที่กฎหมายกำหนด ปรากฎว่าเมื่อเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ผู้รับจ้างได้มีหนังสือแจ้งขอส่งมอบงานทั้งโครงการตามสัญญางวดสุดท้าย แต่ผู้ควบคุมงาน ที่ปรึกษาบริหารโครงการ และคณะกรรมการตรวจการจ้างได้ตรวจงานแล้วพบว่ายังมีงานก่อสร้างที่ผู้รับจ้างต้องดำเนินการแก้ไขเนื่องจากไม่ถูกต้องครบถ้วนตามสัญญา จึงไม่รับมอบงานและสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรผู้ว่าจ้างได้มีคำสั่งให้ผู้รับจ้างดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง ปัจจุบันอยู่ระหว่างผู้รับจ้างดำเนินการงานก่อสร้างตามรูปแบบและรายการให้แล้วเสร็จทั้งหมด รวมทั้งแก้ไขงานที่ชำรุดบกพร่อง (Defects) ซึ่งงานตามสัญญายังไม่แล้วเสร็จ ถึงปัจจุบัน (18 มกราคม 2566) ยังส่งมอบงานไม่ได้ มีความล่าช้าเป็นเวลาประมาณ 778 วัน หรือมากกว่า  2 ปี  บริษัทผู้รับจ้างต้องถูกปรับรวมเป็นเงินมากกว่าหมื่นล้านบาท คือประมาณมากกว่า 9.8 พันล้านบาท 

.

ข้ออ้างบริษัทผู้รับจ้างสร้างสภารัฐสภาที่ไม่จ่ายค่าปรับ คือได้มีหนังสือขอรับสิทธิตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 693 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564  และที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 654 ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2565 และ ที่ กค (กวจ) 044.2/ว 1459 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ตามลำดับ ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 ให้กำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีแนวทางให้กำหนดอัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ 0 เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด 19 ซึ่งคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 29 วรรคหนึ่ง (4) อนุมัติยกเว้นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 162 กำหนดอัตราค่าปรับเป็นอัตราร้อยละ 0 ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือ โดยเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เห็นดีเห็นงามไปด้วยนั้น และได้ดำเนินการแก้ไขสัญญาจ้างที่ได้ลงนามเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งจากเดิมสัญญามีการกำหนดค่าปรับตามสัญญาค่าปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.10 นั้นได้แก้ไขเป็นสัญญาไม่มีค่าปรับเลย โดยใช้ถ้อยคำว่า “กำหนดค่าปรับเป็นร้อยละ 0”(ศูนย์บาท)

.

ผมไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรที่แก้ไขเป็น สัญญา “กำหนดค่าปรับเป็นร้อยละ 0” ไม่น่าจะถูกต้องเนื่องจากความในข้อ 162 ของระเบียบกระทรวงการคลังฯ เป็นบทบัญญัติที่อยู่ในหมวด “การทำสัญญาและหลักประกัน” กล่าวคือ เป็นข้อกำหนดในขั้นตอนการทำสัญญาที่หน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดค่าปรับอันถือเป็นหลักประกันไว้ในสัญญาตามอัตราที่ระเบียบกำหนด ไม่ใช่ในขั้นตอนการ “แก้ไขสัญญา” ส่วนการแก้ไขสัญญา เป็นไปตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 97 ซึ่งเป็นกฎหมายลำดับศักดิ์พระราชบัญญัติ และเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐในการยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงหรือระเบียบที่ออกตามความในพระราชบัญญัตินี้ เท่านั้น(พระราชบัญญัติจัดซื้อจัดจ้างฯ มาตรา 29(4) ) ดังนั้น คณะกรรมการวินิจฉัยฯ จึงไม่อาจยกเว้นหรือผ่อนผันการไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างฯ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่ที่ให้อำนาจแก่ตนเองได้  การที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรไปแก้ไขสัญญาฯ จึงเห็นว่าเป็นการกระทำที่นอกเหนือจากขอบอำนาจที่กฎหมายกำหนดและฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติมาตรา 97 และมาตรา 102 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 

.

เรื่องตลกร้ายเกิดขึ้น บริษัท ซิโน-ไทยฯ ผู้รับจ้าง ได้ยื่นฟ้องสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรต่อศาลปกครองกลาง กรณีส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างล่าช้าและการขนย้ายดินในระยะต้นๆของการก่อสร้างในคดีหมายเลขดำที่ 961/2563 เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2563 เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจำนวน 1,596,592,305.46 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีของต้นเงินดังกล่าว นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้ให้แก่ผู้ฟ้องคดีเสร็จสิ้นปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครอง แต่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรช่างใจดีกับผู้รับเหมาก่อสร้างด้วยการงด หรือยกเว้นค่าปรับให้ ถึงปัจจุบันมากกว่า 9.8 พันล้านบาท กลายเป็นว่ารัฐเสียสิทธิในการเรียกเงินค่าปรับส่งมอบงานล่าช้า ถือว่าเป็นเงินภาษีของประชาชน เป็นการรักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติแล้วหรือ มิหนำซ้ำรัฐสภายังถูกบริษัท ซิโน-ไทยฯ ผู้รับจ้าง เรียกร้องค่าเสียหายอีกมากกว่า 1.5 พันล้านบาท ถ้าแพ้คดีต้องหนีไม่พ้นเอาเงินภาษีของประชาชนจ่ายให้บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างสร้างรัฐสภาทำไมประชนคนไทยจึงช่างโชคร้ายเหลือเกิน ทั้งที่ บริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างอาคารรัฐสภาล่าช้ามีผลกระทบให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยตรงเกือบหมื่นล้านบาท การไม่ปกป้องสิทธิประโยชน์ของรัฐดังกล่าวเกรงว่าจะเกิดการประวัติศาสตร์ซ้ำรอยค่าโง่ ที่รัฐต้องสูญเสียประโยชน์อีกครั้ง

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566

“ประชาชาติ” สำรวจสถานการณ์ ‘ผัก-ผลไม้’ ช่วงก่อนตรุษจีน ห่วงราคาดีดตัวสูง กระทบค่าครองชีพประชาชน


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมนตรี บุญจรัส คณะกรรมการบริหารพรรคประชาชาติ ในฐานะ รองโฆษกพรรคประชาชาติ ที่ปรึกษากรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า “วันนี้มีโอกาสเดินเลือกซื้อผลไม้ที่ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ก่อนช่วงเทศกาลตรุษจีนในเวลาอันใกล้นี้ ได้รับฟังความเห็นพ่อค้า-แม่ค้า ที่จำหน่ายพืชผักและผลไม้ รวมถึงแผงค้าต่าง ๆ ทั้งอาหารสด-อาหารทะเล โดยหลังจากราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาเงินเฟ้อ รวมถึงปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ทางการเกษตรหลายพื้นที่ทั่วประเทศในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ราคาอาหารต่าง ๆ ปรับตัวสูงขึ้นหลายรายการ กระทบกับพี่น้องประชาชนในวงกว้าง การมาลงพื้นที่ในครั้งนี้ ทำให้ผมได้ข้อมูลจากประชาชนที่เกิดความทุกข์ในใจครับ






นายมนตรี บุญจรัส กล่าวเพิ่มเติมว่า “มีพ่อค้า-แม่ค้าที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภค เล่าให้ฟังหลายราย เรื่องราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น รายจ่ายที่เพิ่มขึ้น การค้าขายที่ฝืดเคือง ขณะที่ยอดขายลดลงจากเดิม รวมถึงวิกฤติเศรษฐกิจ และปัญหาเงินเฟ้อเข้ามาซ้ำเติม ทำให้หลายคนอยากให้พรรคการเมืองที่จะมาเป็นผู้นำรัฐบาลในสมัยหน้า ที่จะมีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศในเวลาอันใกล้นี้ ได้นำไปหาทางแก้ไขในสภาผู้แทนฯ โดยที่ต้องการผู้ที่จะมาแก้ปัญหาให้กับพี่น้องประชาชนอย่างแท้จริงครับ”




“ผมตั้งใจมาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอพรปีใหม่ที่ศาลเจ้าพ่อสมบูรณ์ ตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน กรุงเทพฯ ให้พี่น้องประชาชนทุกท่าน ผ่านพ้นวิกฤติต่าง ๆ นี้ไปได้ และหากมีการเลือกตั้งในเร็ว ๆ นี้ ก็อยากให้พรรคประชาชาติของพวกเรา ได้มีโอกาสเข้าไปรับใช้พี่น้องประชาชน ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเร็ววันนี้ครับ” นายมนตรี บุญจรัส กล่าว





วันเสาร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2566

"สรพันธ์ คุณากรวงศ์" หนุนส่งเสริมกีฬาเยาวชน สร้างเสริมสุขภาวะ


(14 มกราคม 2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เคเค-สรพันธ์ คุณากรวงศ์ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน โดยระบุว่า #วันเด็กแห่งชาติ ตรงกับวันเสาร์ที่ 2 ของเดือนมกราคมของทุกปี และวันเด็กปี พ.ศ. 2566 ตรงกับวันเสาร์ ที่ 14 มกราคม ซึ่งก็คือวันนี้ครับ
.
จากที่ได้แลกเแลี่ยนความเห็นกับกลุ่มน้อง ๆ เยาวชน เรื่องการกีฬา บริเวณลานกีฬาในชุมชนและหมู่บ้าน พบว่า การเปิดพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมการกีฬาและสิ่งแวดล้อมชุมชน จะสร้างบรรยากาศเปิดรับเยาวชน ส่งเสริมการออกกำลังกาย สุขภาพพลานามัย ปลูกฝังให้เยาวชนมีน้ำใจเป็นนักกีฬา มีระเบียบวินัย และสามารถต่อยอดทำให้เกิดนักกีฬาอาชีพต่อไปในอนาคตได้ครับ
.
ลานกีฬาเพื่อเยาวชน จะช่วยเติมเต็มพื้นที่พบปะทางสังคม เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการสร้างเสริมสุขอนามัยของประชาชนและชุมชน การมีลานกีฬาขนาดย่อมกระจายตัวอยู่ทั่วเมือง จะเป็นการเพิ่มการเข้าถึงพื้นที่สร้างเสริมสุขภาวะและกิจกรรมชุมชนครับ

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2566

"ทวี" แนะสอบทุจริต จัดซื้อจัดจ้าง เปลี่ยนป้ายสถานีกลางบางซื่อ 33 ล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

“ป้ายสถานีกลางบางซื่อมูลค่า 33 ล้านบาท” กับฉายารัฐบาล “หน้ากากคนดี …แปดเปื้อน”
.
การรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานในกำกับของกระทรวงคมนาคม ปรากฎเป็นข่าวฉาวน่าฉงนและมึนงง กรณี “การว่าจ้างเอกชนเปลี่ยนป้ายชื่อสถานีกลางบางซื่อโดย “วิธีเฉพาะเจาะจง” เปลี่ยนชื่อป้ายสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ที่มีมูลค่า 33 ล้านบาท มองมุมไหนก็ไม่คุ้มค่า ไม่เหมาะสม เจตนาที่จะส่อไปในการบริหารพัสดุภาครัฐที่เอื้อประโยชน์แก่กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง


.
“วิธีเฉพาะเจาะจง” สะท้อนฉายารัฐบาล “หน้ากากคนดี …แปดเปื้อน”
.
พระราชบัญญัติ การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เป็นกฎหมายออกในยุค รัฐบาลเผด็จการ คสช ที่การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุอาจกระทําได้ 3 วิธี ได้แก่ (1)วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป (2)วิธีคัดเลือก และ (3) “วิธีเฉพาะเจาะจง” ได้แก่ การที่หน่วยงานของรัฐเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติ ตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานของรัฐกําหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ หรือให้เข้ามาเจรจาต่อรองราคา รวมทั้งการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุกับผู้ประกอบการโดยตรงในวงเงินเล็กน้อยตามที่กําหนดในกฎกระทรวง …
.
ในการการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ ให้หน่วยงานของรัฐเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปก่อน คือ เจตนารมณ์ต้องการใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือ อีบิดดิ้ง ( e-Bidding ) ส่วนวิธีการคัดเลือก และวิธีการเฉพาะเจาะจง เป็นข้อยกเว้นต้องใช้ให้น้อยที่สุด ซึ่ง ตามมาตรา 65 วรรคแรก (2) ที่บัญญัติว่า “กรณีดังต่อไปนี้ ให้ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง …
(ก) ใช้วิธีเชิญชวนทั่วไป หรือใช้วิธีคัดเลือกแล้วแต่ไม่มีผู้สนใจ
(ข) การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่มีการผลิต จำหน่าย ก่อสร้าง หรือให้บริการทั่วไป จำนวนเงินไม่สูง
(ค) คนรับจ้างมีเพียงรายเดียวในประเทศไทย และไม่มีพัสดุอื่นที่จะใช้ทดแทนได้
(ง) มีเหตุฉุกเฉิน เนื่องจากเกิดอุบัติภัยหรือภัยธรรมชาติ หรือเกิดโรคติดต่ออันตราย และเชิญชวนทั่วไป หรือ คัดเลือกอาจจะก่อให้เกิดความล่าช้า และอาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรง
(จ) พัสดุเป็นพัสดุเกี่ยวพันกับพัสดุที่ได้ทำการจัดซื้อจัดจ้างไว้ก่อนแล้ว และต้องซื้อเพิ่มเติมเพื่อความสมบูรณ์หรือต่อเนื่อง
(ฉ) เป็นพัสดุที่จะขายทอดตลาดโดยหน่วยงานของรัฐ องค์การระหว่างประเทศ หรือหน่วยงานของต่างประเทศ
(ช) เป็นพัสดุที่เป็นที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างซึ่งจำเป็นต้องซื้อเฉพาะแห่ง”
.
แต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ กลับมีการจัดซื้อจัดจ้างโดย “วิธีเฉพาะเจาะจง” มากกว่าปกติ ยกตัวอย่างผลการจัดซื้อจัดจ้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พบว่าใช้วิธีซื้อวิธีเจาะจงมากถึง 97.45 % e-Bidding เพียง 2.55% เท่านั้น กรณีการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่มีข่าวฉาวโฉ่ ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในปี 2564 รวม 2,207 โครงการ มูลค่า 19,554 ล้านบาท แบ่งเป็นวิธีเฉพาะเจาะจงมากถึง 1,353 โครงการ หรือ 61.30% เปรียบเทียบกับวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือ e-Bidding ที่มีเพียง 305 โครงการ หรือ 15.86% เท่านั้น
.
เมื่อย้อนไปดูถึงการเปลี่ยนชื่อป้ายสถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีกลางกรุงเทพอภิวัฒน์ ที่มีมูลค่า 33 ล้านบาท จากการตั้งงบประมาณราคากลางไว้ 34 ล้านบาท โดยอ้างว่าเป็นเรื่องความเร่งด่วน แสดงว่าต่อรองราคาได้มากถึง 1 ล้านบาท และ ร.ฟ.ท. ได้ชี้แจงต่อสื่อสาธารณะว่า “งานจ้างปรับปรุงป้ายสถานีกลางบางซื่อ ดำเนินการโดยฝ่ายโครงการพิเศษ และก่อสร้างซึ่งรายละเอียดของงานนั้น ผู้รับจ้างจะต้องดำเนินการบริเวณโดมด้านหน้าของสถานีกลางบางซื่อ ทั้งในฝั่งตะวันออก และตะวันตก โดยกำหนดป้ายชื่อตัวอักษรภาษาไทย ขนาดสูง 3 เมตร กว้าง 2.6 เมตร หนา 40 เซนติเมตร ส่วนชื่อภาษาอังกฤษ ขนาดสูง 2.1 เมตร กว้าง 2.2 เมตร หนา 40 เซนติเมตร และ บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น หรือ UNIQ ผู้รับงาน ก็เป็นหนึ่งในผู้รับเหมางานก่อสร้างที่มีประสบการณ์ประมูลงานของ รฟท. มาอย่างต่อเนื่อง”
.
งานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ มีกิจการร่วมค้า ประกอบด้วย บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ UNIQ เป็นผู้รับเหมา ที่เคยมีข่าวทวงค่างานเพิ่มจากการรถไฟแห่งประเทศไทยจำนวนกว่า 7,200 ล้านบาท เมื่อต้นปี 2565 และ รฟท.ยังจ้างทำป้ายเพิ่มอีก โดยเลือกวิธีการเฉพาะเจาะจง ที่เป็นมรดกเผด็จการ คสช.
.
ในยุครัฐบาล หน้ากากคนดี...แปดเปื้อน “วิธีการเฉพาะเจาะจงได้ถูกนำไปใช้อย่างไม่สุจริตมีพฤติการณ์ส่อไปทางทุจริต ที่รัฐบาลปล่อยปะละเลยให้หน่วยงานของรัฐเลือกทำการจัดซื้อจัดจ้างที่ขัดเจตนารมณ์ของกฎหมาย และโครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีลักษณะ “ไม่คุ้มค่า ราคาไม่เหมาะสม ไม่โปร่งใส ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และยังตรวจสอบไม่ได้ในขณะนี้”
.
อีกด้านหนึ่งถ้ารัฐบาลหรือเจ้ากระทรวงเป็นหน้ากากคนดี หรือมีความสุจริตใจไม่มีลักษณะเป็น “เถยจิต” ในการบริหารงานพัสดุภาครัฐจริง ๆ ก็ย่อมรับรู้ด้วยสามัญสำนึกทั่วไปได้ว่า การป้องกันการ “ฮั้วประมูล” การป้องกันการรวมหัวกัน-สมยอมกันในการเสนอราคาไม่ให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์การประกวดราคาประมูลงานระหว่างรัฐกับพ่อค้านำเงินทอนไปแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกัน รัฐควรจะเลือกใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป หรือ อีบิดดิ้ง ( e-Bidding ) จึงจะทำให้ประชาชนสบายใจมากกว่า อย่างไรก็ตามในฐานะผู้มีประสบการณ์ในการบังคับใช้กฎหมายมายาวนาน อยากจะให้ข้อคิดเพื่อเตือนสติกับ “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” ไว้ประการหนึ่งว่า ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 มาตรา 10 มีบทบัญญัติที่พึงปฏิบัติว่า “หากเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้มีอำนาจหรือหน้าที่ในการอนุมัติ พิจารณาหรือเกี่ยวข้องในการเสนอราคาครั้งนี้ รู้หรือมีพฤติการณ์แจ้งชัดว่าควรรู้ว่าการเสนอราคาในครั้งนี้มีการกระทำผิด ละเว้นไม่ดำเนินการให้มีการยกเลิกการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอราคาครั้งนี้ กฎหมายมีบทกำหนดโทษไว้สูงถึง จำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 - 200,000 บาท
.

วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2566

“ประชาชาติ” แนะรัฐกระตุ้นเศรษฐกิจช่วงปีใหม่

(2 มกราคม 2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมนตรี บุญจรัส คณะกรรมการบริหารพรรคประชาชาติ ในฐานะรองโฆษกพรรคประชาชาติ และ ที่ปรึกษากรรมาธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม เผยแพร่ข้อความผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยมีเนื้อหาดังนี้  



ปีใหม่นี้ ไปเที่ยวไหนดี..?”


หลายคนหยุดยาวช่วงเทศกาลปีใหม่ ปี2566 ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2565 ถึง 2 มกราคม 2566 ในระยะเวลา 4 วัน บางคนอาจกลับบ้านต่างจังหวัด ไปหาครอบครัว ขอพรปีใหม่จากญาติผู้ใหญ่ สังสรรค์รวมญาติตามธรรมเนียม บางส่วนอาจจะเดินทางไปท่องเที่ยว พักผ่อนช่วงวันหยุดยาวนี้ หลังเผชิญความท้าทายจากการระบาดของ COVID-19 นับตั้งแต่ปี 2563 



แม้ปัจจุบัน เศรษฐกิจไทยจะทยอยฟื้นตัวได้ แต่ต้องใช้เวลา โดยคาดว่าเศรษฐกิจกลับสู่ระดับก่อน COVID-19 ได้ใน ปี2566 ทั้งนี้ การฟื้นตัวของภาคส่วนต่าง ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะกลุ่ม SMEs ที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุน และภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบหนักที่ต้องใช้ในการฟื้นตัวนาน อาทิ กลุ่มท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งมีการจ้างงานสูงกว่า 10 ล้านคน อาจต้องใช้เวลา 4-5 ปี กว่านักท่องเที่ยวต่างชาติจะกลับมาเข้าใกล้ระดับก่อนการระบาด ซึ่งจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจล่าสุด ภาคธุรกิจเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น รวมถึงบางส่วนที่มีหนี้เดิมค้างชำระอยู่ อาจมีข้อจำกัดในการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ยังไม่สามารถประเมินรายได้และกระแสเงินสดได้ ภาครัฐจึงควรให้การช่วยเหลือเยียวยาต่อเนื่องอย่างเป็นระบบ 



หากภาครัฐ มีการดำเนินการมีมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยดึงดูดกระตุ้นให้ผู้บริโภคกล้าที่จะจับจ่ายมากขึ้น ก็จะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนเม็ดเงินเกิดขึ้นจในระบบ ก็จะช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ก้าวพ้นจากผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์โควิด -19 ได้ ครับ